พุทธนาวา วัดยานนาวา การศึกษาเรื่องสัญลักษณ์ในความเชื่อทางพุทธศาสนา

Other Title:
The Buddhanava (The Buddha's Vehicle) at Wat Yannawa : a study on symbolic implication in Buddhist beliefs
Subject:
Date:
1997
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ความมุ่งหมายของการศึกษา สมมติฐาน ขอบเขต วิธีการรวมถึงแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา
บทที่ 2 คติความเชื่อเรื่อง พุทธนาวา กล่าวถึงที่มาของคติความเชื่อเรื่องพุทธนาวาที่นำไปสู่การสร้างสรรผลงานทางด้านศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
บทที่ 3 พุทธนาวา วัดยานนาวา กล่าวถึงประวัติในการก่อสร้าง การศึกษารูปแบบ ขนาด วัสดุ และวิธีการก่อสร้างร่วมกับองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น เจดีย์ย่อมุมวิเคราะห์ เปรียบเทียบรูปแบบ ขนาด ความเหมือน และความแตกต่างของพุทธนาวา วัดยานนาวา กับเรือสำเภาแต่ละแบบที่ใช้งานในสมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รวมถึงฐานของอาคารที่มีลักษณะแอ่นโค้งแบบท้องสำเภา เพื่อหาความสัมพันธ์ตลอดจนวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งและประโยชน์ใช้สอย
บทที่ 4 บทสรุป สรุปถึงความสำคัญของเรือสำเภาในสมัยอยุธยา ที่นำมาสู่การถ่ายทอดเป็นสัญลักษณ์ในงานศิลปกรรม และความสำคัญของพุทธนาวา วัดยานนาวา ในส่วนของพัฒนาขั้นสูงสุดในการถ่ายทอดระบบสัญลักษณ์ลงในงานสถาปัตยกรรมของรัชกาลที่ 3 Chapter 1 introduces the background and the significance of the study, hypothesis, research methodology including sources of data collected.
Chapter 2 discusses the belief of the Buddha’s vehicle during the periods of late Ayutthaya and early Ratanakosin.
Chapter 3 traces the history of constructing the Buddha’s vehicle at Wat Yannawa. A study on its architectural feature is also give including its form, style, size, materials as well as the arrangements of other decoration such as stupas with indented corners.
In addition, this chapter analyzes and compares the architectural features of the Buddha’s vehicle with those of Chinese junks used in the late of Ayutthaya and Ratanakosin period and also with the similar curved base line found in many buildings. The findings indicate certain relations in terms of location and functional use.
Chapter 4 concludes the importance of the Chinese junk during the Ayutthaya period which is developed into a symbolic system and then reflected in arts. The study finally concludes that the Buddha’s vehicle at Wat Yannawa reveals the development of symbolic implications in architecture at the highest stage in the reign of King Rama III.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2540 Thesis (M.A. (History of art))--Silpakorn University, 1997)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
303