พัฒนาการของชุมชนโบราณบริเวณลุ่มน้ำลำสะแทด ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 : กรณีศึกษาแหล่งโบราณคดีบ้านกระเบื้อง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา และการสำรวจพื้นที่โดยรอบ

Other Title:
The cultural development in the Lamsatad basin prior to the 14th century A.D. : a case study of the Ban Krabuang archaeological site, Bua Yai district, Nakhon Ratchasima province and vicinity
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณในลุ่มน้ำลำสะแทด ซึ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนในช่วงเวลาก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ผลการศึกษาสามารถจัดลำดับพัฒนาการออกได้ 5 ระยะ ดังนี้
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ (อายุราว 3,700 – 3,000 ปีมาแล้ว ) พบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของลุ่มน้ำ เป็นชุมชนเกษตรกรรม มีประเพณีในการฝังศพครั้งเดียวแบบนอนหงายเหยียดยาวและบรรจุในภาชนะดินเผา
2. ยุคสำริด (อายุราว 3,000 – 2,500 ปีมาแล้ว) พบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด บ้านหลุมข้าว และบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของลุ่มน้ำเช่นเดียวกัน เป็นชุมชนเกษตรกรรม มีประเพณีการฝังศพครั้งเดียวแบบนอนหงายเหยียดยาว มีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างชุมชน
3. ยุคเหล็ก (อายุราว 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว) ช่วงเวลานี้ประชากรมีจำนวนมากขึ้น เกิดการขยายตัวไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของลุ่มน้ำ พื้นที่ศึกษาซึ่งอยู่บริเวณตอนกลางจึงปรากฏชุมชนในยุคเหล็กเป็นจำนวนมาก เป็นชุมชนเกษตรกรรมและมีการผลิตเกลือสินเธาว์ขึ้น มีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล มีประเพณีการฝังศพทั้งแบบฝังครั้งเดียวแบบนอนหงายเหยียดยาวและฝังครั้งที่สองในภาชนะดินเผา
4. สมัยประวัติศาสตร์ร่วมสมัยทวารวดี (อายุราว 1,500 – 1,100 ปีมาแล้ว หรือพุทธศตวรรษที่ 12 – 15) ในช่วงเวลานี้ชุมชน ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมทวารวดีที่แพร่มาจากภาคกลางของประเทศไทย มีพัฒนาการเข้าสู่สังคมเมืองเกิดชุมชนขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางอย่างชัดเจน มีการนับถือพุทธศาสนาแต่ก็ยังคงประเพณีการฝังศพครั้งที่สองในภาชนะดินเผาอยู่ แสดงถึงความนิยมในความเชื่อดั้งเดิมบางประการ
5. สมัยประวัติศาสตร์ สมัยเขมร (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 -18 ) ชุมชนคงอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ในอาณาจักรเขมรโดยเฉพาะเมืองพิมาย มีการนับถือศาสนาฮินดูหรือพุทธศาสนา ประเพณีการปลงศพเปลี่ยนมาเป็นการเผาและบรรจุอัฐิในภาชนะดินเผา ยังคงมีการผลิตเกลือสินเธาว์อยู่ การจัดการน้ำของชุมชนมีทั้งใช้คูน้ำคันดินที่ล้อมรอบชุมชนเป็นที่เก็บน้ำ และสร้างบารายขึ้นมาเพื่อเก็บน้ำและเป็นสิ่งก่อสร้างคู่กับศาสนสถานตามคติความเชื่อทางศาสนา The purpose of this research is to study the cultural development of ancient communities in the Lamsatad basin, a tributary of Mun River basin, from first settlement to the 14th centuary AD. The results of the study can be divided into the chronological phases.
1. Prehistoric period (Neolithic age (3,000 – 3,700 B.P.) The earliest (thus far investigated) community was founded at Ban Non Wat, which is located at the south end of the basin. This is an agricultural community and their mortuary practice is primary burial.
2. Bronze age (2,500 – 3,000 B.P.) Ban Non Wat continues to be occupied and more communities are established at the south of the basin including Ban Lum Khao and Ban Prasat. These communities are in contact with other sites and their mortuary practice remains predominantly primary burial.
3. Iron age (1,500 – 2,500 B.P.) Many new communites are founded. In this period the population grew and expanded to other areas of the basin. During this period the first communities were established in the middle and north regions of the Lansatad Basin. These communities cultivated rice, raised domestic cattle, buffalo and pigs. They produced salt. Mortuary practices in the Iron age included both primary burials and secondary burials (jar burials).
4. Historic period 1 – Dvaravati period (ca. 7th – 10th centuary AD.) In this period the Lansatad Basin communities received Dvaravati culture from central Thailand. Some communities grew into towns or small cities. Many communities believed in Buddhism but still practices secondary burial.
5. Historic period 2 – Khmer period (ca. 10th – 13th century AD.) In this period local communities were ruled by Khmer Empire kings, through the local regional ruler at Phimai. Communities believed in Buddhism and Hindusm. Mortuary practices changed to cremation with the remains placed in pottery vessels. They still produced salt. Water management was achieved by both moats and reservoirs (Baray).
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
58
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การศึกษาเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชุมชนไทลาวและชุมชนไทโคราช ณ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
Type: Thesisณัฐพล แซ่ฮวง; Nuttapon Sae-houng (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2014)การศึกษาเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชุมชนไทลาวและชุมชนไทโคราช ณ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เกิดขึ้นจากคำถามว่า “บริบทสภาพแวดล้อมในการตั้งถิ่นฐานเดียวกัน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชุมชนไทลาวและชุมชนไทโคราช มีความเหมือนหรือ ... -
เรือนมอญภายใต้รูปลักษณ์เรือนไทโคราช : กรณีศึกษาบ้านพระเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
Type: Thesisศราวุธ แคพิมาย (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558)จังหวัดนครราชสีมา หรือโคราช มีที่ตั้งสัมพันธ์ติดต่อกับภาคอื่นถึง ๓ ภาค ได้แก่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคอีสาน จึงเป็นดั่งศูนย์รวมความหลากหลายทางวัฒนธรรม เนื่องจากการเดินทาง จากภาคกลางไปยังภาคอีสานต้องใช้โคราชเป็นจุดผ่านและหยุดพัก ... -
สถานภาพและบทบาทของเพศชายและหญิงในยุคเหล็กที่แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
Type: Thesisชนม์ชนก สัมฤทธิ์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2008)