การจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี

Other Title:
The irrigation system in Eastern Thailand during Dvaravati period
Author:
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาเรื่อง “การจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี” ได้เลือกพื้นที่ศึกษาเมืองโบราณในสมัยทวารวดี จำนวน 3 เมือง คือ เมืองดงละครจังหวัดนครนายก เมืองศรีมโหสถจังหวัดปราจีนบุรี และเมืองพระรถจังหวัดชลบุรี โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะภูมิประเทศของเมืองโบราณในสมัยทวารวดีว่ามีความสอดคล้องกับการจัดการน้ำในสมัยโบราณอย่างไร และศึกษารูปแบบหรือระบบที่ใช้ในการจัดการน้ำในสมัยโบราณว่าจะทำงานอย่างไรโดยได้ใช้ข้อมูลด้านต่าง ๆ มาประกอบการศึกษา เช่น ข้อมูลความสูงและลักษณะพื้นที่จากภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ และการตรวจวัดภาคสนาม นอกจากนี้ยังได้เก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่อันเกิดจากการกระทำของน้ำ เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์และประมวลผลจึงได้ข้อสรุปที่ว่า เมืองโบราณในแต่ละแห่งนั้นได้มีการสร้างระบบการจัดการน้ำหรือการลงประทานของแต่ละเมืองที่แตกต่างกันไปตามลักษณะทางภูมิประเทศและขนาดของแต่ละเมือง โดยลักษณะภูมิประเทศของเมืองในพื้นที่ศึกษานี้จะมีลักษณะร่วมที่คล้ายกันคือ มีที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงกว่าพื้นที่ราบโดยรอบที่เป็นพื้นที่ราบที่มีน้ำท่วมตามฤดูกาล และการอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำท่วมถึงทำให้เกิดปัญหาในเรื่องขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ผู้คนในสมัยทวารวดีจึงได้สร้างสิ่งก่อสร้างทางชลประทานเพื่อใช้ในการจัดการน้ำให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการในขณะที่ปริมาณน้ำมีมาก และสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในยามขาดแคลน นอกจากนี้ยังพบข้อมูลเพิ่มเติมจากการศึกษาในเรื่องระดับน้ำใต้ดินนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อสิ่งก่อสร้างเพื่อการชลประทานในสมัยก่อน โดยน้ำใต้ดินในบริเวณพื้นที่ราบด้านล่างใกล้กับเมืองโบราณต่าง ๆ นั้นจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำในบ่อน้ำหรือสิ่งก่อสร้างทางชลประทานอื่น ๆ บริเวณเมืองโบราณ การศึกษาในเรื่องวิศวกรรมอุทกวิทยานั้นได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ของน้ำผิวดินที่ไหลลงสู่ใต้ดินในบริเวณพื้นที่สูงจะเคลื่อนตัวลงสู่พื้นที่ต่ำกว่าเสมอ แต่จะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับระดับน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินในพื้นที่ราบที่จะผลักดันระดับน้ำในพื้นที่สูงให้คงตัวอยู่ได้
ดังนั้นเมื่อข้อมูลความสูงและลาดเทของเมืองโบราณที่ศึกษา ข้อมูลด้านวิศวกรรมอุทกวิทยาและการศึกษาถึงระดับน้ำทะเลสมัยโบราณมาพิจารณาเปรียบเทียบกับ สภาวะความแห้งแล้งบริเวณเมืองโบราณที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จึงได้ข้อสันนิษฐานว่าสิ่งก่อสร้างทางชลประทานเพื่อใช้ในการจัดการน้ำที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดีนั้นจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกับสภาวะปริมาณน้ำที่เหมาะสมในอดีต เพราะระดับน้ำใต้ดินและน้ำผิวดินในอดีตนั้นมีปริมาณที่สูงกว่าในปัจจุบันตามระดับน้ำทะเลในสมัยโบราณ
ผลการศึกษาที่ได้จากการเปรียบเทียบรูปแบบและองค์ความรู้ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างระบบการจัดการน้ำในเมืองโบราณภาคตะวันออกของประเทศไทยสมัยทวารวดี มีความสอดคล้องกับผลการศึกษาในด้านอื่น ๆ ของสมัยทวารวดีที่บ่งชี้ว่าวัฒนธรรมในสมัยทวารวดีนั้นได้รับอิทธิพลด้านรูปแบบและแนวคิดมาจากกลุ่มคนที่เคยอาศัยอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำ กฤษณา-โคทาวรี นำมาถ่ายทอดให้ผู้คนในสมัยทวารวดีและชาวทวารวดีได้นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศของตน In “The Irrigation System in Eastern Thailand During Dvaravati Period” research, three Dvaravati ancient cities were studied which were Donglakorn city in Nakornnayok province, Srimahosod city in Prachinburi province and Prarod city in Chonburi province. This research aimed to study Dvaravati ancient city topography related to its irrigation in the ancient period. The irrigation system, pattern and its operating system also were studied by merging information such elevation data, satellite image of landscape, map, aerial photo and gathering field data. Moreover, soil sample of each area was collected to study the water rendition. The results were analyzed then conclude that the irrigation system of each ancient city was different and depended on its topography and size. However, the topography of these ancient cities were similar such all cities were built on the uplands surrounding seasonal flooding. And the characteristic topography led to drought problems in the dry season. So the irrigation systems were required and manage to store water during rainy season. And the reservoirs were built to reserve water for drought period. Furthermore, ground water table of lowland was an important factor to irrigation system, it related to natural pond water table and also the reservoirs. The engineering hydrology explained that water would gravitate to underground and its rate depended on the sub-surface water table especially groundwater table which these water tables in lowland area would affect to keep water in upland area.
The combining information of topographic elevation data, gradient scale of ancient city, the engineering hydrology and ancient sea level were agreeable to explain the annual drought problems in these ancient city areas in the present time. It could be assumed that the irrigation constructions, which were built to manage water in Dvaravati period, could be function effectively and suitable to amount and state of water in that period. Because of the sub-surface water and ground water table in the ancient period were higher than present water table as ancient sea level information. The irrigation pattern system and managing knowledge of these experimental areas were studied and compared to other ancient irrigation systems. The results were according the other Dvaravati research works which signified the Dvaravati culture were influenced the conformations and concepts of the people who had lived in the Krishna-Godavari basin. Then Dvaravati people took the conformation knowledge and applied to suit their terrain.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
403