พัฒนาการของแผนผังโบราณสถานในเมืองโบราณเชียงแสนและเชียงแสนน้อย

Other Title:
Development of monuments 's plans in Chiangsaen and Chiangsaen Noi ancient cities
Author:
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของแผนผังโบราณสถานในเมืองโบราณเชียงแสนและเชียงแสนน้อย โดยใช้ข้อมูลการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีจากโบราณสถาน 45 แห่งของเมืองโบราณเชียงแสนและเชียงแสนน้อย ผลการศึกษาสามารถแบ่งแผนผังโบราณสถานของเมืองโบราณที่ศึกษาได้ 4 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ผังอาคารหลักวางตามแนวแกน (ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 เป็นต้นมา)
กลุ่มที่ 2 ผังที่มีอุโบสถ (ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 เป็นต้นมา)
กลุ่มที่ 3 ผังที่มีหมู่อาคาร (ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21-22 เป็นต้นมา)
กลุ่มที่ 4 ผังที่มีอาคารหลักเพิ่มจากแนวแกนเดิม (ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23)
ทุกกลุ่มแผนผังมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและมีพัฒนาการร่วมกันเป็นลำดับมาโดยสามารถจัดแบ่งช่วงสมัยพัฒนาการของแผนผังโบราณสถานในเมืองโบราณเชียงแสนและเชียงแสนน้อย ได้เป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ผังที่มีพัฒนาการขึ้นในช่วงสมัยล้านนา (ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22) ได้แก่ ผังกลุ่มที่ 1, กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 อันเป็นผังที่พบได้ในเมืองโบราณร่วมสมัยในล้านนา
ระยะที่ 2 ผังที่มีพัฒนาการขึ้นในช่วงสมัยพม่าปกครอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23) ได้แก่ ผังกลุ่มที่ 4 อันเป็นผังที่ไม่พบในเมืองโบราณร่วมสมัยอื่น ๆ ในล้านนา แต่พบว่าเป็นผังที่เกิดขึ้นในสมัยสุดท้ายของโบราณสถานบางแห่งในเมืองโบราณเชียงแสนและเชียงแสนน้อย ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพล, รูปแบบการสร้างหรือแนวความคิดมาจากพม่า The purpose of this research is to study the development of monument’s plans in Chiang Saen and Chiang Saen Noi ancient cities based on archaeological evidences of 45 monuments. The result show that the plans of monuments can be divided into 4 groups :
1) The main buildings (chedi or mondop and vihara) placed along the axis. (about 14th – 15th century A.D. onwards)
2) Plan with the chapel. (add or replace) (about 15th – 16th century A.D. onwards)
3) Plan with the groups building. (from the end of 16th – 17th century A.D. onwards)
4) Plan with the main building added to the original axis. (about 17th – 18th century A.D.)
These 4 plans relate to each other and develop side by side. Thus, we can conclude that the monument’s plans in these ancient cities developed in 2 phases, i.e. :
Phase 1. Plans developing during the Lanna Period. (about 14th – 16th century A.D.) viz, plan of group 1, 2 and 3.
Phase 2. The latest plan, developing during the domination of the Burmese in the area. (about 17th – 18th century A.D.), viz, group 4. Such plan which is supposed to influence by the Burmese, totally differ from other contemporary cities.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
311
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การศึกษาเทคนิคการผลิตภาชนะดินเผาแหล่งขุดค้นบ้านเชียงปีพ.ศ. 2518 ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
Type: Thesisจุฑารัตน์ ขุนทอง (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1986) -
การศึกษาและลำดับอายุจากลวดลายบนผิวภาชนะดินเผาในหลุมฝังศพกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยปลาย : กรณีศึกษาจากการขุดค้นหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
Type: Thesisอัตถสิทธิ์ สุขขำ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2004) -
การจัดรูปแบบกล้องยาสูบดินเผาที่พบที่เมืองเชียงแสน ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
Type: Thesisนงไฉน ทะรักษา (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009)