การศึกษาภาชนะดินเผาจากแหล่งโบราณคดีชายฝั่งทะเลในภาคใต้ก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 ของประเทศไทย

Other Title:
A study on pottery from archaeological sites on Southern coast of Thailand before 11 century A.D.
Author:
Subject:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาภาชนะดินเผาจากแหล่งโบราณคดีชายฝั่งทะเลในภาคใต้ก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 ของประเทศไทย โดยเน้นศึกษารูปแบบ ลวดลาย และเนื้อดินของภาชนะดินเผาในแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง จากนั้นนำผลสรุปที่ได้จากการศึกษามาเปรียบเทียบกับแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยในคาบสมุทรประเทศไทย เช่น แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร แหล่งโบราณคดีคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และเปรียบเทียบกับแหล่งโบราณคดีในประเทศใกล้เคียงเพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกคาบสมุทรของประเทศไทย
ผลการศึกษาภาชนะดินเผาในแหล่งโบราณคดีภูเขาทองทั้งได้จากการขุดค้นและสำรวจทางโบราณคดี พบว่าภาชนะดินเผาในแหล่งโบราณคดีภูเขาทองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ภาชนะดินเผากลุ่มพื้นเมือง และกลุ่มรูปแบบต่างชาติ
ภาชนะดินเผากลุ่มพื้นเมืองในแหล่งโบราณคดีภูเขาทองเป็นภาชนะดินเผาเนื้อหยาบที่ผลิตใช้เองในชุมชนมีเทคนิคการทำและรูปแบบภาชนะไม่ซับซ้อน รูปทรงที่พบได้แก่ โอ่ง หม้อ ไห จานและชาม มีการตกแต่งแบบง่าย ๆ โดยใช้วัตถุดิบรอบตัวอย่างเช่น เครื่องจักสาน ไม้ เป็นต้น ลวดลายการตกแต่งที่พบได้แก่ ลายเสื่อทาบ ลายเครื่องจักสาน ลายรวงผึ้ง ลายขุด ลายขูดขีด และลายไม้ลาย เป็นต้น ส่วนภาชนะดินเผาต่างชาติที่พบในแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง ได้แก่ ภาชนะดินเผาอินเดีย และภาชนะดินเผาเปอร์เซีย (บาสราแวร์)
จากการศึกษาภาชนะดินเผาในครั้งนี้อาจจะกล่าวได้ว่าแหล่งโบราณคดีภูเขาทองเป็นชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์ซึ่งมีการอยู่อาศัย 2 ช่วง คือ ราวพุทธศตวรรษที่ 5-7 และในราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ก่อนจะลดบทบาทและร้างการอยู่อาศัยในที่สุด
เมื่อศึกษาภาชนะดินเผาร่วมกับหลักฐานต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าแหล่งโบราณคดีภูเขาทองเป็นแหล่งเมืองท่าสำคัญบริเวณคาบสมุทรของประเทศไทยในช่วงยุคการค้าอินโด – โรมัน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5-9 โดยมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างชุมชนในคาบสมุทรและชุมชนต่างชาติ This research studies the pottery from archaeological sites located on the Soutern coast of Thailand before the 11th century A.D., It intends to study the typology, decoration, and fabric of the pottery found at the Phu Khao Thong site in Ranong. The result is compared with the findings from the Khao Sam Keaw site in Chumphon and the Klong Thom site in Krabi, as well as other sites in neighbouring countries.
The study of pottery through surveys and excavations divides pottery into two groups including local pottery and foreign pottery. The local pottery was coarse ware produced by the local people using simple techniques which resulted in plain shapes and forms. This type of pottery includes jars, pots, bowls, and dishes. In addition, foreign pottery found at the Phu Khao Thong site includes Indian pottery and Persian pottery (Basra ware).
This study shows that the Phu Khao Thong site was a protohistoric site with two settlement periods which were the 1st – 2nd Century A.D. and the 7th – 8th A.D..
The study of pottery together with other archaeological evidences show that the Phu Khao Thong site was a significant port town located on Peninsular Thailand during the Indo-Roman Trade (1st – 4th Century A.D.) and suggests that ancient communities here interacted with other communities in Peninsular Thailand and beyond.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
238