คติความเชื่อและรูปแบบ "มกร" ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย

Other Title:
The concept and art style of "Makara" creature found in Thailand prior to 14th century
Author:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาถึงคติความเชื่อและลักษณะรูปแบบของมกรที่พบในดินแดนประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19
วิธีวิจัยเริ่มจากการศึกษาตั้งแต่ลัทธิการบูชาสัตว์ที่มีอยู่ในธรรมชาติจนกลายเป็นสัตว์ผสมที่มีความพิสดารซึ่งเป็นต้นกำเนิดของตัวมกรในประเทศอินเดีย และได้แตกแขนงไปปรากฏอยู่ตามคัมภีร์ศาสนาต่าง ๆ ได้แก่ พระเวท อาถรรพเวท วิษณุปุราณะ ลลิตวิสตระ เป็นต้น รวมทั้งศึกษารูปแบบมังกรที่มีวิวัฒนาการแรกเริ่มมาจากประเทศอินเดียเช่นกันและถ่ายทอดให้กับประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งในกรณีนี้จะศึกษาศิลปะมังกรในบางประเทศที่ให้อิทธิพลโดยตรงกับประเทศไทย เพื่อเป็นการศึกษาและกำหนดอายุโบราณวัตถุโดยการเปรียบเทียบ
ผลจากการวิจัย พบว่า แนวคิดความเชื่อและการสร้างสรรค์รูปมกรได้ปรากฏครั้งแรกในประเทศไทยช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12 โดยสร้างขึ้นเพื่อใช้ประดับตกแต่งอาคารที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธลัทธิเถรวาท ลัทธิมหายาน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งความหมายหลักของมกร หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นไปได้ว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์มงคลอีกชนิดหนึ่ง ส่วนรูปแบบมีทั้งที่รับมาจากศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี คุปตะ หลังคุปตะ จากศิลปะแบบเขมร และศิลปะพุกาม โดยรูปแบบมกรได้ถูกดัดแปลงในแบบตนเองซึ่งมีทั้งแบบงานหลวงและงานช่างพื้นเมือง The objective of this particular research is to study the belief and art style of Makara creature found in Thailand prior to 14th century.
The method of this particular research begins with the natural animals ideology to mythical animals study of which have composed in conjoining with various animals as Makara creature was originated in India, The concept of Makara had appeared to sacred writings of the religion for example Veda, Atharva Veda, Visnu Purana, Lalitavistara. It also includes the evolution of Makara style which revealed in early Indian art and transferred to Southeast Asia countries. The research will study Makara styles in some countries that have related upon Thai Makara art in order to study and determine object aspects in relative dating.
The result of the research particularly found that the idea of concept and Makara form creation was first appeared in 7th century in Thailand that was made for religious building ornament such as Theravada sect and Mahayana sect in Buddhism and Bhramma – Hindu. The main meaning of Makara is an abundance and it is probably built as an auspicious symbol, in addition, the concept of Makara would be change as its differed position too. Thai Makara art is influenced from Amaravati, Cupta, post – Cupta of Indian style, Khmer art and Pegan art and adapted in Thai style created in royal handicraft and local artisan.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
139