พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีที่นครปฐม

Other Title:
A study of Dvaravati Vctive Tablets (Terracotta Tablets) at Nakorn Pathom
Author:
Subject:
Date:
1981
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดี ซึ่งพบที่เมืองนครปฐมโบราณจำนวน 30 องค์ และเปรียบเทียบกับพระพิมพ์ แหล่งอื่นกับพระพุทธรูปที่เกี่ยวข้องอีก 15 องค์ เพื่อที่ศึกษาทางด้านรูปแบบ เรื่องราว, ศิลปะ, จารึก, ของพระพิมพ์สมัยทวารวดีซึ่งพบในพื้นที่ดังกล่าวจากการศึกษา ปรากฏว่าสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 พระพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นเรื่องราว, กลุ่มที่ 2 พระพิมพ์ที่มีสถูปประกอบ, กลุ่มที่ 3 พระพิมพ์แบบพระพุทธรูปปางสมาธิมีประภามณฑล การวิเคราะห์และกำหนดอายุว่าพระพิมพ์ซึ่งพบที่นครปฐมโบราณ เป็นพระพิมพ์ที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นการสืบศาสนา พระพิมพ์ที่นครปฐมในขั้นแรก รับอิทธิพลพุทธศาสนานิกายหินยานที่ใช้ภาษาสันสกฤตที่เผยแพร่มาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย นิกายหินยานแบบเถรวาท ที่ใช้ภาษาบาลีที่เผยแพร่มาจากตอนใต้ของประเทศอินเดีย เข้าผสมกับลัทธิเดิม ซึ่งเห็นได้ชัดจากพระพิมพ์ในช่วงหลังมีอิทธิพลศิลปะซึ่งนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ที่เผยแพร่มาจากทิศเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียปนอยู่ด้วย จากการศึกษาแหล่งที่พบแหล่งที่มาทางด้านศิลปะเนื่องในพุทธศาสนาของเมืองนครปฐมโบราณได้อีกทางหนึ่ง This thesis is the study of thirty Dvaravati terracotta Buddhist votive tablets found at the ancient town of Nakorn Pathom in comparision with those found at various sites as well as the other fifteen Buddha images. The purpose is to study art style, scene and inscription of the Dvaravati Buddhist votive tablets found at that site. They, therefore, can be classified into three groups as follows :
1. Votive tablets on scene
2. Votive tablets flanked by stupas
3. Votive tablets of seated meditiating Buddha with the halo.
The analysis and dating of Dvaravati terracotta Buddhist votive tablets discovered at Nakhorn Pathom indicate that they have been made to renew Buddhism in the event of its disappearance after 5,000 years. They were, at first, under the influence of Hinayana Buddhist sect in Sanskrit language from Northeastern part of India and further under the Theravada Buddhist sect in Pali language from southern part of India and in combination with the former sect obviously seen from those of the later period, showing the art influence of Mahayana Buddhism derived from Northern and Northeastern part of India. In the course of studying the sites where the Buddhist votive tablets were unearthed, we were able to know the source of Buddhist art at the ancient town of Nakorn Pathom as well.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2524 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1989)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
213