ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณสมัยทวารวดี บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก

Other Title:
The environmental factors Thai effects on the settlement of the ancient cities the dvaravati period on the Easthern coast of the gulf of Thailand
Author:
Date:
1988
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยทวารวดี บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก หรือในบริเวณที่ปัจจุบันคือพื้นที่ลุ่มแม่น้ำบางปะกง ซึ่งประกอบด้วย เมืองโบราณสมัยทวารวดี ที่สำคัญสามเมืองคือ เมืองดงละคร (จังหวัดนครนายก) เมืองมโหสด (จังหวัดปราจีนบุรี) และเมืองพระรถ (จังหวัดชลบุรี) โดยการศึกษาวิเคราะห์จากข้อมูลทางด้านโบราณคดี ภูมิศาสตร์ สถิติภูมิอากาศ ข้อมูลทางธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา อุทกวิทยา โบราณวัตถุ กระดูกสัตว์ที่ได้จากการขุดค้น และข้อมูลด้านพฤกษศาสตร์ มาอธิบายตีความร่วมกัน
การวิจัยพบว่า ปัจจัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติทุกชนิดอำนวยผลดีต่อการตั้งถิ่นฐาน เช่น มีสภาพภูมิประเทศเหมาะต่อการปลูกข้าว อยู่ใกล้ลุ่มแม่น้ำใหญ่ถึงสามสายและยังอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล ตลอดจนมีลำน้ำสามารถติดต่อระหว่างที่ตั้งของเมืองกับทะเลได้ มีสภาพภูมิอากาศเฉลี่ยทั้งด้านประมาณน้ำฝน อุณหภูมิ อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม มีสภาพอุทกวิทยาเพียงพอต่อการเพาะปลูก อุปโภคบริโภค รวมทั้งใช้เป็นเส้นทางคมนาคม และเป็นแหล่งอาหารของชุมชนได้เป็นอย่างดี สำหรับสภาพดิน ดินบริเวณที่อยู่อาศัยเหมาะต่อการเพาะปลูกพืชผลและการปลูกข้าว
นอกจากการทำเกษตรกรรมแล้ว ได้พบเศษกระดูกสัตว์เป็นจำนวนมากที่เมืองพระรถ มีทั้งกระดูกสัตว์เลี้ยง เช่น หมู สุนัข วัว ควาย และกระดูกสัตว์ป่า เช่น ละองละมั่ง กวาง เก้ง เนื้อทราย ควายป่า หมูป่า วัวป่า รวมทั้งสัตว์น้ำจำพวกปลาน้ำจืดและหอยแครง ซึ่งสัตว์เหล่านี้คงเป็นสัตว์ที่ถูกมนุษย์ล่ามากินเป็นอาหาร โดยล่ามาจากบริเวณใกล้ชุมชนซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่ประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ทุ่งหญ้า บริเวณที่เป็นที่ลุ่ม มี คู คลอง หนอง บึงอยู่ทั่วไป รวมทั้งบริเวณป่าชายเลน บริเวณสภาพแวดล้อมดังกล่าวเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่คนในชุมชนสามารถเลือกหามาอุปโภคบริโภคได้ง่าย เมื่อนำชนิดและประเภทของสัตว์ที่พบในเมืองพระรถไปเปรียบเทียบกับชนิดของสัตว์ที่พบในเมืองคูเมืองอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี และเมืองคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่า ชนิดและประเภทของสัตว์ที่พบคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการพบเปลือกหอยแครงที่มีพระรถและเมืองคูบัว แต่ไม่พบเปลือกหอยแครงที่เมืองคูเมืองแสดงให้เห็นว่า เมืองคูบัวกับเมืองพระรถ เป็นเมืองที่อยู่ชายฝั่งทะเล จึงมีโอกาสจับสัตว์จากบริเวณชายฝั่งทะเลมาบริโภคได้
นอกจากนี้ จากการขุดค้นที่เมืองดงละคร เมืองศรีมโหสถ และเมืองพระรถ ได้พบโบราณวัตถุ ซึ่งเป็นของต่างประเทศ เช่น เศษเครื่องเคลือบเปอร์เซีย เศษเครื่องเคลือบจีน จึงสันนิษฐานได้ว่า เมืองโบราณแถบนี้คงเป็นเมืองท่าติดต่อกับชาวต่างประเทศที่มาทางทะเล
โดยสรุปแล้ว ชุมชนโบราณบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก เป็นชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการตั้งถิ่นฐานเป็นอย่างมาก ซึ่งเมืองเหล่านี้ที่ได้อาศัยสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่อำนวยต่อการทำเกษตรกรรมตลอดจนการล่าสัตว์ และยังเป็นชุมชนที่มีทำเลที่ตั้งเหมาะต่อการเป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ ดังนั้น เศรษฐกิจของชุมชนแถบนี้จึงสามารถทำการค้าเป็นอาชีพเสริมผสมผสานกับการเพาะปลูก ส่งผลให้ชุมชนโบราณทั้งสามสามารถตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรได้เป็นระยะเวลานาน This thesis is written with a view to studying the environmental factors that effected on the settlement of the ancient cities on the eastern coast of the Gulf of Thailand, or Bang Pakong Basin in the present, during Dvaravati period by use of relevant information gathered from various sources : geography, climatic statistics, geology, soil science, hydrology, and botany of, as well as artifacts and ecofacts discovered from archaeololgical excavations within three main ancient cities of the stated period, namely Muang Dong Lakorn (Changwat Nakorn Nayok), Muang Sri Mahosot (Changwat Prachinburi), and Muang Prarot (Changwat Chonburi).
The result of this research indicates that every kind of natural environmental factors had good effects on the settlement of the mentioned ancient cities. The area in question was fertile enough for cultivation with quite suitable climate and water supply. Three main rivers within the area served as another sources of food and also as communication routes out to the nearby sea.
A great quantity of animal bones, inchuding the vertebrae of fresh water fishes and scallop shells, unearthed at Muang Prarot, suggest that the ancient people in this area also earned theit living by raising livestock, hunting from the surrounded forests and catching fishes and sea animals. A comparative study between animal bones as found from the archaeological excavation within Muang Prarot and those excavated from Ban Ku Muang (Amphoe Inburi, Changwat Singhaburi) together with those excavated from Ban Ku Bua (Amphoe Muang, Changwat Ratchaburi) reveals similar kinds of animals. However, scallop shells have not been discovered at Ban Ku Munag. This implies that the ancient societies at Ban Ku Bua and Muang Prarot once situated on the seashore.
Moreover, the discoveries from archaeological excavations within Muang Dong Lakorn, Muang Sri Mahosot and Muang Prarot include artifacts from foreign countries, e.g. glazed sherds of Persian and Chinese wares. These evidences indicate that the stated cities once used to be ports trading with nearby societies and foreigners.
In conclusion the environmental factors of the eastern coast of the Gulf of Thailand during Dvaravati period had good effects on the living of the people. Apart from natural environmental factors which brought about agriculture and hunting, the locations of the cities were also suitable to be trade ports. Such standard of living made the habitation of the ancient societies exist for a long period of time.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2531 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1988)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
42