ประติมากรรมดินเผาประดับสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย : ศึกษาจากข้อมูลในเขตจังหวัดสุโขทัย

Other Title:
Terracotta sculpture for architectural decoration in Sukhothai period
Date:
1994
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วัฒนธรรมการใช้ประติมากรรมดินเผาประดับสถาปัตยกรรมในบริเวณประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์แล้ว แต่สมัยสุโขทัยจัดเป็นระยะที่มีการใช้ชิ้นส่วนประดับสถาปัตยกรรมที่ทำจากดินเผารูปแบบต่าง ๆ และกับส่วนต่าง ๆ ของอาคารมากที่สุด ทั้งยังมีลักษณะของผลิตภัณฑ์แตกต่างกันออกไป ทั้งแบบดินเผาเนื้อดินธรรมดา แบบดินเผาเนื้อแกร่งทั้งเคลือบและแบบไม่เคลือบ
การศึกษาประติมากรรมดินเผาประดับสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัยจึงมีความมุ่งหมายที่จะศึกษาลักษณะรูปแบบประติมากรรมดินเผาประดับสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-22 ในเขตจังหวัดสุโขทัย ลักษณะคติการทำประติมากรรมดินเผาสำหรับประดับอาคารเหล่านั้น โดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากโบราณวัตถุประเภทนี้ที่ได้จากการขุดค้นและขุดแต่งภายในเขตจังหวัดสุโขทัย และโบราณวัตถุประเภทเดียวกันจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ทราบแหล่งที่มาจากเขตจังหวัดสุโขทัยอย่างชัดเจน นำมาศึกษาจำแนกประเภทเป็นหมวดหมู่ ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบของแต่ละประเภท เปรียบเทียบกับคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาประดับสถาปัตยกรรมกับองค์ประกอบสถาปัตยกรรมประเภทอื่น ๆ ในสมัยสุโขทัยและในประเทศใกล้เคียง
จากการวิเคราะห์ข้อมูลประติมากรรมดินเผาประดับสถาปัตยกรรมระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-22 ในจังหวัดสุโขทัยพบว่า ประติมากรรมดินเผาประดับสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนสำหรับการประดับวิหารซึ่งเป็นอาคารที่มีโครงสร้างเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง โดยมักเป็นชิ้นส่วนประดับสถาปัตยกรรมที่จำเป็นต้องใช้ชิ้นส่วนที่มีรูปแบบเดียวกันเป็นจำนวนหลายชิ้น จึงใช้เทคนิคการขึ้นรูปดินเผาด้วยพิมพ์แบบต่าง ๆ ซึ่งสะดวกในการผลิตในจำนวนมากและเพื่อให้ได้รูปร่างที่มีขนาดเท่ากันทั้งหมด แต่จะมีการประดับตกแต่งเพิ่มเติมแตกต่างกันออกไปเพียงเล็กน้อย
จากการศึกษาลักษณะรูปแบบและคติการใช้ประติมากรรมดินเผาประดับสถาปัตยกรรมในสมัยนี้สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามลักษณะรูปแบบและการใช้งานเป็น 10 กลุ่ม จากลักษณะรูปแบบของประติมากรรมดินเผาประดับสถาปัตยกรรมโดยรวมแสดงให้เห็นเค้าของศิลปะและคติของการประดับตกแต่งอาคารแบบเขมรซึ่งคงจะเป็นรูปแบบที่มีมาก่อนสมัยสุโขทัย แต่ได้มีลักษณะวิวัฒนาการทางรูปแบบที่คลี่คลายห่างจากศิลปะเขมรดั้งเดิมมาก ประกอบกับได้มีการผสมผสานอิทธิพลทางรูปแบบของศิลปะจีนเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับในกลุ่มโบราณวัตถุที่เป็นเครื่องปั้นดินเผา โดยเฉพาะประติมากรรมดินเผาประดับสถาปัตยกรรมในกลุ่มที่เป็นมกรและมกรคายนาคนั้นมีลักษณะใกล้เคียงกับรูปมังกรในศิลปะจีนมาก
อย่างไรก็ตามควรจะมีการศึกษาเปรียบเทียบเพื่อกำหนดอายุที่แน่นอน และศึกษาถึงรูปแบบโครงสร้างของสถาปัตยกรรมดินเผาเหล่านี้ประดับต่อไป The terracotta sculpture for architectural decoration was found in Thailand since the early historic period, and reveal in various types in Sukhothai period (14-17 A.D.)
The purpose of this research was to study the Typology and Iconography of terracotta sculpture for architectural decoration in Sukhothai Province during 15-17 A.D. The Artifacts selected from National Museum and archeological sites in Sukhothai Province have been classified in various types in order to stydied their development of forms and styles and then compared to the terrcotta sculpture and other ceramic construction materials from contemporary sites in Thailand and neighbouring countries.
The result of the study represented that most of terracotta sculpture have been used for decorate vihara which their roof structure made from wood and have to use many similar motif to decorate architecture. The ceramic techniqud by using mould is the convenience way to resemble a quantity of terracotta sculpture for architectural decoration.
From the study of Typology and Iconography of the terracotta sculpture for architectural decoration in this period, it can be classified in to 10 groups based on their forms and functions. All the terracotta sculpture types indicated that these design could be inspired by Khmer architectures before Sukhothai period, but it had been developed their own styles for from Khmer original types. And they reveal some influences from Chinese art similar to the other type of ceramics. Especially, makara and Makara emitted naga were quite similar in the form to the Chinese dragon.
However, the further comparative study should be done in order to clarified about the structure of architecture decorated with these artifacts and more accurated datings.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2537 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1989)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
25