บทบาททางเศรษฐกิจของเมืองโบราณดงละคร ในฐานะกลุ่มเมืองท่าชายฝั่งทะเลภูมิภาคตะวันออก

Other Title:
The economic role of Dong Lakon ancient city as the ancient sea port in Eastern Thailand
Author:
Date:
1995
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ชุนชนโบราณสมัยทวารวดีที่เมืองดงละคร มีพัฒนาการมาจากชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย บริเวณแหล่งโบราณคดีบ้านนา จังหวัดนครนายก ซึ่งได้อพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เมืองดงละคร แล้วค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดี
ชุมชนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจากแหล่งโบราณคดีบ้านนา ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดีที่เมืองดงละครมีการติดต่อกับชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณแหล่งโบราณคดีท่าแค แหล่งโบราณคดีชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยพบหลักฐานจากการขุดค้นที่เมืองดงละคร อันแสดงความสัมพันธ์กันคือ ลูกปัดหินตระกูลหยกทรงสามเหลี่ยมปลายตัด (พุทธศตวรรษที่ 3-6) นอกจากนี้ในพุทธศตวรรษที่ 14-18 เมืองดงละครยังคงมีการติดต่อกับชุมชนบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ เมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม ตลอดจนมีการติดต่อกับต่างถิ่นโพ้นทะเลโดยปรากฏหลักฐานประเภทเครื่องเคลือบจีน เครื่องถ้วยเปอร์เซีย ลูกปัดมีตาของอินเดีย เป็นต้น หลักฐานต่างชาติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นสถานภาพความเป็นเมืองท่าของดงละคร โดยพ่อค้าสามารถเดินเรือผ่านแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำนครนายก เข้าสู่คลองโพธิ์และช่องกันเกรา ซึ่งเป็นเส้นทางการติดต่อกับชุมชนภายนอก
ตำแหน่งที่ตั้งของเมือง ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างชุมชนลุ่มแม่น้ำบางปะกงกับลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดจนมีพื้นที่เชื่อมระหว่างภาคกลาง ภาคตะวันออก และบริเวณอีสานตอนล่าง จึงทำให้เมืองดงละครน่าจะมีสถานภาพเป็นจุดแวะพักในการเดินทาง การค้าขาย หรือตัวกลางในการขนถ่ายสินค้าระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ ดังกล่าว
จากการดำเนินงานทางด้านโบราณคดีที่เมืองดงละคร ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เมืองดงละครมีบทบาททางเศรษฐกิจในฐานะเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบในการผลิตลูกปัดประเภทแก้วไปยังเมืองร่วมภูมิภาคเช่น เมืองศรีมโหสถ เป็นต้น The ancient city of Dong Lakon, Nakon Nayok province was situated between the Bang Pakong flood plain and the Chao Phraya flood plain.
Since prehistoric period, the communicaties in this area were not isolated. Beads found at Dong Lakon, dated from 2nd century B.C. to 1st century A.D. were the same as those found in other prehistoric sites in Chao Phraya plain i.e. Tha Khae and Chai Badan in Lopburi province.
Later during 9th -13th centuries A.D. , the community of Dong Lakon was still in contact with other contemporary cites in central plain such as Chansen in Nakhon Sawan province and the ancient city of Nakhon Pathom.
Oversea artifacts i.e. Chinese and Persian pottery, Indian beads were also found there. This indicated that, at one time, Dong Lakon might be a coastal port which was approachable by maritime communication through Bang Pakong and Nakhon Nayok rivers via Khong Pho and Chong Kankrao.
Considering the location of Dong Lakon, it could link the Central plain with the Lower Northeastern and the Eastern region.
So during its heydays, the ancient city of Dong Lakon might be an inter-regional trading post and also a supplier of raw material for bead production to other neighboring communities.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2538 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1995)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
57