ชุมชนโบราณที่มีคู-คันดินล้อมรอบในลุ่มน้ำแม่อิง : การศึกษาเชิงภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐานและความสัมพันธ์ในระบบโครงสร้างสังคมเมือง

Other Title:
Ancient fortfied communities in Mae Ing basin : study in settlement geography and urban society organization
Author:
Date:
1995
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ลุ่มน้ำแม่อิง เป็นที่ตั้งของเมืองพะเยาซึ่งเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในภาคเหนือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 แต่ในการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในภูมิภาคนี้มีปัญหาที่ยังไม่เป็นที่ยุติเกี่ยวกับความเป็นมาของสังคมเมืองในช่วงก่อนหน้านั้น เนื่องจากมีความขัดแย้งระหว่างหลักฐานด้านเอกสาร คือ ตำนาน พงศาวดารต่าง ๆ ที่กล่าวถึงการมีอยู่ของเมืองพะเยาและเมืองต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ เมืองเทิง เมืองลอ และเมืองเชียงของ ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในขณะที่หลักฐานทางโบราณคดี ประเภทโบราณวัตถุ และโบราณสถาน ที่แสดงให้เห็นความเจริญในระดับสังคมเมืองที่เปรียบเทียบได้กับภูมิภาคอื่น ๆ นั้น ล้วนมีอายุไม่เก่ากว่าพุทธศตวรรษที่ 19 โดยโบราณวัตถุที่อาจมีอายุเก่ากว่านั้น มีเพียงเครื่องมือหินขัด ซึ่งเปรียบเทียบได้กับรูปแบบเครื่องมือ เครื่องใช้ในสังคมเกษตรกรรมยุคแรก ๆ ในภูมิภาคอื่น ๆ ในช่วงที่ยังไม่ได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นสังคมเมือง ดังนั้นการศึกษาพัฒนาการของสังคมในลุ่มน้ำแม่อิงจากรูปแบบของโบราณวัตถุโดยใช้มาตรฐานเดียวกับภูมิภาคอื่น ๆ จึงทำให้เห็นการก้าวกระโดดจากสังคมเกษตรกรรมแบบแรกเริ่มมาสู่ความเป็นสังคมเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างทันทีทันใดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ซึ่งไม่สอดคล้องกับเรื่องราวในหลักฐานด้านเอกสารที่แสดงให้เห็นว่าชุมชนต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ได้มีพัฒนาการเข้าสู่ความเป็นสังคมเมืองมาตั้งแต่ก่อนหน้านั้น
ความไม่สอดคล้องระหว่างหลักฐานด้านโบราณวัตถุ กับหลักฐานด้านเอกสารอาจเป็นเพราะในช่วงก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 19 ชุมชนต่าง ๆ ในลุ่มน้ำแม่อิงนี้มีความล้าหลังทางเทคโนโลยี จึงไม่มีการพัฒนารูปแบบเครื่องมือเครื่องใช้ไปตามพัฒนาการทางสังคมอย่างในภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งทำให้มีปัญหาในการศึกษาพัฒนาการทางสังคมในภูมิภาคนี้จากหลักฐานด้านโบราณวัตถุเป็นหลัก
อย่างไรก็ตามในลุ่มน้ำแม่อิงก็มีหลักฐานสำคัญอีกประเภท ที่อาจนำมาใช้ในการศึกษาพัฒนาการทางสังคมได้ คือ ชุมชนโบราณที่มีคู-คันดินล้อมรอบซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก อันเป็นหลักฐานสำคัญในตัวเองที่แสดงถึงความเป็นสังคมเมือง การวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาพัฒนาการของสังคมในภูมิภาคนี้ โดยใช้ข้อมูลทางด้านลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเหล่านี้ซึ่งอาจเป็นแนวทางหนึ่งที่จะอธิบายถึงความเป็นมาของชุมชน และการเกิดสังคมเมืองในภูมิภาคนี้ได้ วิธีการศึกษาเริ่มจากการจำแนกรูปแบบของชุมชน แล้วศึกษาเปรียบเทียบถึงตำแหน่งที่ตั้ง ขนาด และการกระจายตัวของชุมชนแต่ละรูปแบบซึ่งทำให้สามารถตีความถึงพัฒนาการทางสังคมได้อย่างต่อเนื่อง
ผลจากการศึกษาพบว่าชุมชนโบราณที่มีคู-คันดินล้อมรอบในลุ่มน้ำแม่อิง มีวิวัฒนาการด้านรูปแบบเป็นลำดับขั้น โดยจากลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่มีคู-คันดินล้อมรอบรูปแบบแรกสุดที่เกิดขึ้นนั้น แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาเข้าสู่ความเป็นสังคมเมืองในภูมิภาคนี้ในช่วงก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 19 อาจเป็นผลมาจากแบบแผนการยังชีพด้วยการทำนาบนที่ราบเชิงเขา ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดระบบการชลประทานเหมืองฝาย อันเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโครงสร้างของเมืองขนาดเล็กขึ้นตามเครือข่ายเหมืองฝายต่าง ๆ หลังจากนั้นต่อมาจึงมีการรวมกลุ่มระหว่างเมืองขนาดเล็กเหล่านั้นเข้าเป็นโครงสร้างของเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำแม่อิงตอนล่างเป็นแห่งแรก คือ เมืองพะเยา และจนกระทั่งถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 จึงได้เกิดเมืองขนาดใหญ่ขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำแม่อิงตอนกลางและตอนบน คือ เมืองลอ เมืองเทิง และเมืองเชียงของ โดยจากข้อมูลด้านลักษณะการตั้งถิ่นฐานแสดงให้เห็นว่าการเกิดเมืองขนาดใหญ่เหล่านี้ อาจเป็นผลมาจากการคมนาคมตามลำน้ำแม่อิง ซึ่งเป็นเส้นทางหนึ่งที่ผู้คนจากแคว้นสุโขทัยใช้เดินทางไปยังแม่น้ำโขงเพื่อติดต่อไปยังบ้านเมืองที่ห่างไกลทางทิศเหนือ แต่โครงสร้างของเมืองขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นนี้ ก็มีพื้นฐานมาจากโครงสร้างของเมืองขนาดเล็กที่เกิดขึ้นในระยะแรกตามเครือข่ายเหมืองฝายต่าง ๆ ในช่วงก่อนหน้านั้น การศึกษาข้อมูลด้านลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่มีคู-คันดินล้อมรอบในลุ่มแม่น้ำอิง จึงทำให้เห็นพัฒนาการทางสังคมอย่างต่อเนื่อง และทำให้เห็นความเป็นมาของสังคมเมืองในภูมิภาคนี้ก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 19 ได้ Mae Ing Basin, in which Muang (city, or urban center) Phayao is located, is an important area in the study of northern Thai history and archaeology, but there are still some unsolved problem. While the traditional historical documents (such as legends and chronicles) had always mentioned Muang Phayao and cities such as Muang Thoeng, Muang Lo and Muang Chiang Khong long before 13th -14th centuries A.D., most artefacts and monuments ; so far as were found nowadays, can not be dated prior to that period. Only some polished stone tools found in this area, could be compared to those found in other dated sites, which were from the much earlier period of primitive agricultural society, or “the prehistoric period”.
With these evidences, it was looked like that there was “a great leap” in the social development of the communities in Mae Ing Basin during 13th – 14th centuries, from the early agricultural settlements to the advanced urban ones, and the traditional historical writings about urban development prior to that period were unproved.
However, in this study, it is proposed that some significant archaeological evidences in Mae Ing Basin were overlooked, namely the ancient fortified communities, or the moated settlements.
This study in settlement geography and urban society organization is done by collecting data, surveying the sites of fortified communities, then classify them according to their settlement pattern. Such as forms, sizes, locations, and grouping patterns.
It is found that these ancient fortified communities had their evolutionary process of settlement. In the period prior to 13th – 14th centuries A.D., the irrigated agricultural technology led the society to a new form of subsistant activity that a complex social organization was needed. This gave rise to the cluster of communities along each small irrigational networks, that formed the early stage of urban structure, and originated a small fortified community which was the first urban center, or an early town, in each networks.
Later, these small networks of communities were gathered togather and formed the basis of the first large-scale urban structure in the southern Mae Ing Basin-Muang Phayao, with the origin of a large fortified community, or a city, as a center. Then, until the 13th – 14th centuries, other large-scale urban structures were founded in the middle and northern Mae Ing Basin-Muang Lo Muang Thoeng and Muang Chiang Khong, with a city as a center in each ones.
The communication along the Mae Ing river might be an important factor for the emergence of these cities and large-scale urban structures, since the Mae Ing river was on the route from Sukhothai via the Mekong river to the far away north, however, the small networks of communities along the irrigational systems were still the main basis for the urban structure in Mae Ing Basin.
So this study of settlement patterns of fortified communities in Mae Ing Basin may reveals the early stages of urban society in this region and also fills in the gap in the history of social development.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2538 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1989)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
111