จิตรกรรมฝาผนังสมัยต้นรัตนโกสินทร์ : วัดไผ่ขอน้ำ พิษณุโลก

Other Title:
Mural painting of Bangkok period : Wat Pai Khaw Nam Phitsunulok
Subject:
Date:
1975
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ความหมายของคำว่า “จิตรกรรม” ตามนัยแห่งหนังสือวิทยานิพนธ์เล่มนี้ หมายถึงภาพเขียนสี ซึ่งรวมถึงภาพลายเส้นด้าย ทั้งนี้เพราะภาพลายเส้นอาจหมายถึงการเขียนภาพก่อนการลงสี หรือที่จิตรกรทำเส้นลงบนวัตถุอื่น เช่น ภาพลายเส้นบนแผ่นหินในอุโมงค์วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย (รูปที่ 12 ) และภาพรอยพระบาทสัมริดจากวัดพระเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร (รูปที่ 13) ภาพลายเส้นทั้ง 2 ชิ้นนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นลักษณะการเขียนภาพแบบไทย ซึ่งเริ่มเป็นตัวของตัวเองในสมัยสุโขทัย จากนั้นจึงมีหลักฐานมากยิ่งขึ้น ในสมัยอยุธยาปรากฏว่ามีการเขียนภาพเรื่องราว เช่น ภาพชาดก หรือพุทธประวัติ เป็นแบบอย่างการเขียนภาพไทยที่ได้กลายเป็นแบบประเพณีนิยม และเขียนกันต่อมาในสมัยธนบุรี จนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์
ภาพเรื่องชาดก ได้รับการเขียนควบคู่ไปกับภาพพุทธประวัติ ภาพเรื่องเวสสันดรชาดกซึ่งถือเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีสูงสุดนั้น เขียนอยู่บนผนังหลายผนังติดต่อกันไป ในขณะที่ภาพชาดกเรื่องอื่น ๆ เขียนบนผนังเดียวจบ ดังนั้นเราจึงสามารถศึกษาเรื่องราวและแบบแผนศิลปะในเรื่องเวสสันดรได้เกือบสมบูรณ์ทุกกัณฑ์ แม่ว่าภาพในบางแห่งจะกะเทาะลบเลือนไปหลายตอน ในที่นี้ได้นำภาพเขียนที่วัดสุวรรณาราม และวัดราชสิทธาราม จังหวัดธนบุรี และวัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา มาเปรียบเทียบกับภาพพระบฏ และภาพฝาผนังวัดไผ่ขอน้ำ จังหวัดพิษณุโลก
จากการศึกษาแบบแผนศิลปะของภาพเขียนที่วัดไผ่ขอน้ำ ทั้งภาพพระบฏและภาพฝาผนัง ทำให้ได้แบบแผนการเขียนภาพในสมัยรัชกาลที่ 4 ว่าในขณะที่ภาพเขียนในกรุงเทพฯ เริ่มนิยมการเขียนภาพแบบอิทธิพลตะวันตกนั้น ในต่างจังหวัด เช่น ที่วัดไผ่ขอน้ำ จังหวัดพิษณุโลก ยังคงนิยมเขียนภาพแบบประเพณีนิยมอยู่ ซึ่งภาพเขียนที่วัดไผ่ขอน้ำก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เหลืออยู่น้อยมาก ของแบบประเพณีนิยม ซึ่งควรจะได้รับการสงวนรักษา และขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถานของชาติอย่างหนึ่ง The meaning of “painting” in the sense of this thesis means the painted picture including the engraving. It is because the engraving may mean drawing before painting or making lines on other materials. We cite as an example the stone engraving at Wat Srichum, Sukhodaya (fig.12) and the bronze Buddha’s foot print from Wat Phra Sadet, Kamphaeng Phet (fig.13). These two pieces of art give an idea how the Thai painting gets its own style in Sukhodaya period. We have more exact evidence from now on. The Jataka and the Life of Buddha paintings were ordinarily painted in Ayuthya period. These paintings became the style which is known as the traditional Thai painting and were followed afterwards in Dhonburi and Early Bangkok periods.
The Jataka paintings were painted together with the Life of Buddha paintings. The Vessantara-Jataka which is the last great transcendent virtue of Buddha was painted on continuous walls as long as the other Jatakas were painted only on one wall. For this reason, we can study almost completely the story and art historical method of Vessantara-Jataka even on cracked and disfigured walls. We can compare all the thirteen religious paintings on cloth and mural painting at Wat Pai-Khaw-Nam with the Jataka mural paintings at Wat Suwanaram and Wat Rajsittaram, Dhonburi and Wat Machimavas, Songkhla.
Studying the art historical method of painting on cloth and mural painting at Wat Pai-Khaw-Nam, we can figure out the style of King Rama IV that there was Western influence in painting in Bangkok. At the same time, the traditional style was still painted in the provinces, for instance, the painting at Wat Pai-Khaw-Nam, Phitsanulok. This only one rare example of the traditional style ought to be preserved and registered as one of the national antiques.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2518 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1975)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
30