โครงการการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมสมัยโบราณของชุมชนบริเวณโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี

Other Title:
A study of the culture and the environment of an ancient community at Khok Phanomdi changwat Chon Buri
Subject:
Date:
1981
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมสมัยโบราณของชุมชนบริเวณโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นเนินดินขนาดใหญ่มีหลักฐานทางด้านโบราณคดีเป็นจำนวนมาก จากผลของการวิจัยหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะและสภาพแวดล้อมของบริเวณนี้ซึ่งสรุปผลได้ดังนี้
1. ประเพณีการฝังศพ
1.1 ทิศทางที่ใช้ในการวางศีรษะของศพมี 2 ทิศคือ
1.1.1 วางศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
1.1.2 วางศีรษะไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
1.2 มีการนำดินสีแดงมาใช้ในพิธีฝังศพ
1.3 มีการมัดศพก่อนการฝัง
1.4 มีการนำเครื่องประดับ เครื่องมือ เครื่องใช้ ประกอบพิธีการฝังศพ
2. เครื่องมือเครื่องใช้มี 3 ประเภทคือ
2.1 เครื่องมือหิน
2.2 เครื่องมือกระดูกสัตว์
2.3 เครื่องมือดินเผา
3. เครื่องมือประดับมี 2 อย่างคือ
3.1 เครื่องประดับคอ
3.2 เครื่องประดับข้อมือ
4. แหล่งที่มาของอาหารแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
4.1 ผลิตผลจากทะเล
4.2 สัตว์บก
4.3 พืช
5. ลักษณะสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นที่สูง ล้อมรอบด้วยสภาพป่าชายเลนและแหล่งน้ำ
6. วิวัฒนาการของพื้นที่ เกิดจากการกระทำร่วมกันระหว่างธรรมชาติและมนุษย์
การวิจัยวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมสมัยโบราณของชุมชนโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี การวิจัยทำเฉพาะในหลุมขุดค้นนี้เท่านั้น ฉะนั้นจึงยังไม่สามารถสรุปผลทั่วทั้งเนินดินได้ว่าจะเป็นไปตามวิทยานิพนธ์นี้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ก็แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของวัฒนธรรมซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวต่างไปจากแหล่งโบราณคดีอื่นบ้าง
ผลจากการขุดค้นนี้ทำให้ทราบถึงการอยู่อาศัยที่สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานานนับพันปี และมีความเชื่อในเรื่องประเพณีการฝังศพ จากหลักฐานทางโบราณคดีและชั้นดินแสดงให้เห็นว่าบางระยะเวลาพื้นที่บริเวณนั้นได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้างว่างเปล่า ทำให้เกิดการขาดช่วงทางวัฒนธรรมซึ่งควรจะต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขาดช่วงทางวัฒนธรรมนั้นว่าเกิดจากสาเหตุใด
สำหรับการกำหนดอายุด้วยวิธีคาร์บอน 14 จากกระดูกมนุษย์ที่ขุดพบถ่านและเปลือกหอยได้ค่าอายุระหว่าง 6800 = 420 และ 2100 = 290 ปี อายุของโบราณวัตถุในหลุมขุดค้นจะมีอายุเพิ่มขึ้นเมื่อระดับความลึกของชั้นดินลึกลงไป The purpose of this research is to study the cultures and the environments of the ancient people at Khok Phanomdi in Tam Bon Ban Thakham Amphor Panat-Nikom Changwat Chonburi. The area conducted is a large mound which archaeological evidences about cultures and environments of the ancient people are found, in the excavation of 3 X 5 X 8.80 metres, as the followings :
1. Their ways of performing traditional funeral.
1.1 There different ways of skeleton’s heads posted
1.1.1 Heads posted to the northeast
1.1.2 Heads posted to the Southwest
1.2 The red orche used in the funeral ceremony.
1.3 Corpses fasteued before buried.
1.4 Ornaments and tools buried with the corpses.
2. Kinds of material used to make tools.
2.1 Stone
2.2 Bone
2.3 Pottery
3. Kinds of ornaments
3.1 Necklaces
3.2 Bracelets
4. Kinds of food
4.1 Sea – food
4.2 Land Animals
4.3 Plants
5. The mound once surrounded by nipa forest and water resources.
6. Nature and man taken part in land evolution.
The research was conducted only in the area of excavation, not including the whole mound, therefore any conclusions cannot be made as a whole. However, the study shows some unique characteristics of the Khok Phanomdee people’s culture.
The result of the excavating shows that many successive inhabitants continued living in this place for many thousand years. By using the scientific methods of telling dating, these inhabitants had their own burial tradition. The study also indicates that the land excavated was deserted after these people had continued living in this area for a long period of time. This concludes that there is a cultural collapse among this group of people and the research should somewhat be further continued.
The process of carbon dating confirms the fact that their cultural development began in Early Neolithic Age and ended in Late Neolithic Age. The comparison of their artifacts found from excavating and the result of carbon dating tell that these artifacts are between 7200 – 1800 years. The age of artifacts bases on the depth of the layers of soil. The deeper the soil is, the older the artifacts are.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2524 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1989)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
67