เครื่องประดับกายประติมากรรมรูปคนที่เจดีย์จุลประโทน

Other Title:
The ornaments on the Dvaravati figures at Chula Pathon Chedi
Author:
Date:
1980
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาลักษณะการแต่งกายของคนในสมัยทวารวดีโดยเฉพาะเครื่องประดับกายประติมากรรมรูปคนที่เจดีย์จุลประโทน ตำบลพระประโทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นแผ่นภาพปูนปั้นและดินเผาแบบนูนต่ำ ประดับอยู่ที่ส่วนฐานของเจดีย์ ในการวิจัยช่วยให้เห็นการใช้เครื่องประดับกายและลักษณะเฉพาะที่นิยมกันที่เจดีย์จุลประโทนซึ่งพอสรุปผลได้ดังนี้
1. มงกุฎ มีลักษณะคือ
1.1 เป็นมงกุฎทรงเตี้ย มีดอกไม้ทิศแบ่งลวดลายออกเป็น 3 ส่วน
1.2 ดอกไม้ทิศจะนิยมลายสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีไส้ข้างในประกอบกับลายวงกลม และมีลายกนกประกอบโดยรอบ
1.3 ไรพระศกปรากฏเป็นขอบหนามีลายขีดคั่นขวางตลอดตามแนว
2. รัดเกล้า มีลักษณะคือ
ใช้ลวดลายลูกประคำหรือลูกแก้วเรียงกันง่าย ๆ อยู่ภายในกรอบ
3. ตุ้มหู มี 2 ลักษณะคือ
3.1 แบบห่วงกลมหรือรี นิยมใช้กับบุรุษ
3.2 แบบแผ่นกลมหรือรีมีลวดลายตรงกลาง นิยมใช้กับสตรี
4. กรองศอ มีลักษณะคือ
4.1 ใช้ลวดลายสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีไส้ข้างในเป็นลายหลักและเป็นศูนย์กลางของการผูกลาย
4.2 ใช้วงรีประกอบทั้ง 2 ข้าง อันน่าจะเป็นลักษณะของส่วนประดับเพชรพลอย
4.3 สวมกรองศอสายเล็กลายลูกประคำหรือลูกแก้วทับอีกชั้นหนึ่ง
4.4 ใช้ลวดลายตัวกนกมนมาผูกลาย
4.5 ใช้สายคล้องที่ต่อจากตัวห้ามกรองศอเป็นลายขีดคั่นขวางตลอดตามแนวของสาย
5. กำไลต้นแขน มีลักษณะคือ
วงกำไลมีลายขีดคั่นขวางตลอดตามแนวอยู่ภายในกรอบ ด้านหน้ากรอบสามเหลี่ยมคล้ายกระจังปลายมนและลวดลายภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีไส้ข้างในครึ่งซีก ด้านบนมีวงรีขนาดใหญ่และมีตัวกนกม้วนอยู่ภายใน กรอบนอกผูกลายตัวกนกเรียงต่อเนื่องตลอดแนวของกรอบ
6. กำไลข้อมือ มีลักษณะคือ
6.1 กำไลข้อมือลายลูกประคำหรือลูกแก้ว
6.2 กำไลข้อมือลายปุ่มกลม
7. ปั้นเหน่ง มีลักษณะคือ
7.1 ใช้ลายสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีไส้ข้างในเป็นศูนย์กลางของการผูกลาย
7.2 ใช้วงรีประกอบทั้ง 2 ข้าง อันน่าจะเป็นลักษณะของส่วนประดับเพชรพลอย
7.3 ใช้สายโซ่เส้นเล็ก 2 สายเป็นสายรัดเอวต่อจากส่วนหัวปั้นเหน่ง
ในการวิจัยเครื่องประดับกายประติมากรรมรูปคนที่เจดีย์จุลประโทนนี้ เครื่องประดับกายที่ไม่พบอยู่เลยคือ แหวนและกำไลเท้า ฉะนั้นจึงไม่สามารถสรุปถึงลักษณะและรูปได้ ส่วนการใช้เครื่องประดับกายของแต่ละแหล่งที่นำมาเปรียบเทียบจะมีลักษณะและรูปแบบใกล้เคียงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กันในแต่ละเมืองแต่รายละเอียดของลวดลายจะมีอิสระและมักไม่เหมือนกัน
จากการติดต่อสัมพันธ์กับท้องถิ่นใกล้เคียงและต่างชาติทำให้ได้รับอิทธิพลทั้งทางศิลปะและวัฒนธรรมเข้ามา โดยเฉพาะวัฒนธรรมอินเดียสมัยอุปตะกับยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิหินยานเป็นศาสนาหลักของประชาชน สภาพของสังคมจากการศึกษา ลักษณะและรูปแบบของเครื่องประดับกายพบว่า การแบ่งชนชั้นยังไม่แบ่งเด่นชัดและเด็ดขาดนัก เพราะเครื่องประดับกายบางชิ้นทั้งกษัตริย์และขุนนางยังมีความคล้ายคลึงกัน ส่วนประชาชนก็พยายามแต่งกายเลียนแบบขุนนาง และทางด้านความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไปมีความสุขสบายเห็นได้จากสภาพของการแต่งกายที่ใช้เครื่องประดับอย่างสวยงามและการยิ้มแย้มแจ่มใสของประชาชนที่ปรากฏอยู่ในประติมากรรมรูปคนโดยทั่ว ๆ ไป The aim of this research is to study ornaments used in Dvaravadi Period concentrating on those decorating Dvaravati stucco and terra-cotta figures found at the base of Chula Pathon Chedi, in Tambon Pra Prathone, Muang District, Nakorn Pathom Province. The result shows the characteristics of the followings :
1. The crown :
1.1 Being in a short form, decorated with Dokmai Tit (flowers on 4 cardinal points) and the pattern was divided into three parts.
1.2 Dokmai Tit is of a rectangular pattern enclose by circular patterns and Kanok patterns.
1.3 Lai Phra-sok (small band separating the hair from the forehead) is thick and decorated with combed patterns.
2. The diadem :
Bead-Like patterns are marked in the frame.
3. The ear ring :
3.1 Men’s ear rings are either round or oval.
3.2 Women’s ear ring are either a round or oval plate, having a design in the middle.
4. The necklace :
4.1 Having a rectangular pattern from which the motifs start.
4.2 It has an oval ring on each side. It looks like a jewellery-studded necklace.
4.3 The string is small having bead-like patterns marked upon it.
4.4 Having a circular Kanok pattern as the motifs.
4.5 The connecting string attached to the necklace decorated with combed designs.
5. The armlets :
On the surface of the armlets is decorated with combed design enclosed in a frame, overlying on which is a snake-like pattern. In the frame of the said pattern are the connecting Kanok pattern.
6. The bracelet :
6.1 Having a bead-like pattern.
6.2 Having a knob-like pattern.
7. The waistband :
7.1 Having a rectangular pattern from which the motifs start.
7.2 Having on each side an oval ring, which seems to be decorated with jewellery.
7.3 At the fore-part of the waistband are two small chains used to girdle the waist.
During the research neither finger rings nor anklets have been found. Therefore, it is impossible to describe their typelogy. There is a similarity among ornaments appearing in various places. The fact shows that people in one place had a relationship with those in another places. Nevertheless, the details of these patterns are independent and dissimilar.
Because of the relationship with the neighbouring areas and alien countries, people in Dvaravati Period were influenced on art and culture, especially by Indian Gupta art. In addition, most people accepted Hinayan Buddhism as their religion, Besides, through the study, it is disclosed that in such a society, people were not absolutely classified because some of the king’s and nobility’s ornaments were alike ; common people’s ornaments, however, imitated the nobility. The people daily life was pleasant and happy. They were ornaments and all of them had cheerful smiles on their face.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2523 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1980)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
38