การสืบสานงานช่างฝีมือดั้งเดิม: กรณีศึกษาแผนกช่างฝีมือหัวโขน โรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย)

Other Title:
The inheritance of Thai traditional craftsmanship: a case study of the Khon Mask Department at the Royal Craftsmen School
Author:
Subject:
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้งานช่างฝีมือหัวโขน ที่แผนกช่างฝีมือหัวโขน โรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) ตั้งอยู่ที่หออุเทสทักสินา ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร และเพื่อเสนอแนวทางในการสงวนรักษางานช่างฝีมือหัวโขนดั้งเดิม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์ครูผู้สอนและนักเรีนนในแผนก รวมทั้งสิ้น 8 คน ตลอดทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมระยะเวลา 10 เดือน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการถ่ายทอดความรู้งานช่างฝีมือหัวโขนดั้งเดิม ที่โรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) เป็นการถ่ายทอดโดยครูผู้สอนใช้วิธีการบรรยายและสาธิตขั้นตอนการสร้างหัวโขนให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้สังเกต จดจำ และซึมซับ จากนั้น นักเรียนจึงลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะและประสบการณ์ การเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นแบบตัวต่อตัวคือ ครูผู้สอนจะใส่ใจดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดและแนะนำนักเรียนเป็นรายบุคคล นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจะสร้างหัวโขนสำเร็จคนละ 1 หัว ซึ่งการสืบสวนงานช่างฝีมือหัวโขนดั้งเดิมที่โรงเรียนแห่งนี้ยังคงรักษาระเบียบวิธีปฏิบัติตามรูปแบบจารีตประเพณีของการสร้างหัวโขนดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด แต่วัสดุที่ใช้มีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย เช่น ยางรักที่คุณภาพไม่ดีเทียบเท่าของโบราณและมีขั้นตอนการเตรียมที่ยุ่งยาก จึงเปลี่ยนเป็นวัสดุทดแทนคือกาวเคมีที่มีความทนทานคล้ายยางรักและมีขั้นตอนการเตรียมที่ง่าย นอกจากนี้การสืบสานงานช่างฝีมือหัวโขนดั้งเดิมยังมีกิจกรรมสร้างเสริมที่เกิดจากความร่วมมือของทางโรงเรียนและครูผู้สอน ซึ่งการเรียนการสอนในชั้นเรียนของโรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) และการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ เป็นแนวทางของการสงวนรักษางานช่างฝีมือหัวโขนดั้งเดิมให้คงอยู่ โดยวิธีการส่งผ่านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Transmission) และในการศึกษาวิจัย (Research) This thesis studies the transmission of Khon Mask craftsmanship at the Khon Mask department in the Royal Craftsmen School in the Utestaksina building in the Grand Palace, Bangkok, and suggests methods for safeguarding this traditional craft. The study analyzed published papers and available reports, interviewed a teacher and students of the Khon Mask department: eight people were involved over a period of ten months.
The result showed that most common technique for transferring knowledge of Khon Mask craft to students in the Royal Craftsmen School was a teacher described and demonstrated the process of making masks. Students observed, memorized and absorbed the demonstration and then practiced what the teacher demonstrated to improve their skills and experience. The classroom teaching style was face to face in which was a teacher monitored and guided students individually. Graduates learned how to make tools and created only one Khon Mask. At the Royal School, traditional procedures and forms: styles and colors of Khon Mask faces strictly followed traditional rules for creating Khon Masks. However some materials have been modified over time, for example, natural tree glue (Yang Ruk) has been replaced by modern chemical glue. However, the inheritance of Khon mask craftsmanship was included the integrated activities cooperated by schools and Craftsman School helps to safeguard traditional craftsmanship by inheriting skills and research.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Collections:
Total Download:
151
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูฝึกฝีมือแรงงานในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
Type: Thesisทวีกาญจน์ ตั้งวีระพรพงศ์; Thaweekan Tangveerapornpong (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2012) -
จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดเกาะวาลุการาม จังหวัดลำปาง : "ฝีมือศิษย์ ฝีมือครู" กรณีศึกษาเพื่อเปรียบเทียบถึงความสัมพันธ์กับจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดบุญวาทย์วิหาร จังหวัดลำปาง
Type: Thesisภูมิใจ ศุภพฤกษพงศ์; Poomjai Suphapruksapongse (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2006)งานจิตรกรรมฝาผนังในเขตพื้นที่ล้านนาที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาระบุว่าโดยมากแล้วล้วนแต่เป็นงานที่มีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 25 ขึ้นมาทั้งสิ้น ผลงานเหล่านี้นอกจากจะมีพบที่เมืองเชียงใหม่อันเป็นศูนย์กลาง ... -
งานช่างฝีมือในยุคเหล็กของวัฒนธรรมโลงไม้บนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Type: Articleรัศมี ชูทรงเดช; Rasmi Shoocongdej (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2014-01)วัฒนธรรมโลงไม้ มีอายุระหว่าง 2,600-1,000 ปีมาแล้ว เป็นตัวแทนของพิธีกรรมการฝังศพของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในยุคโลหะสมัยเหล็กบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยังพบกระจายในจังหวัดเชียงใหม่และกาญจนบุรี ...