การจัดการศิลปะการแสดงโขนของครูชูชีพ ขุนอาจ

Other Title:
Management of Khru Chucheep Khun-AAD's art of mask dance
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาเรื่องการจัดการศิลปะการแสดงโขนของครูชูชีพ ขุนอาจ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิง คุณภาพ โดยอาศัยวิธีการทางมานุษยวิทยา เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับบุคคลข้อมูล และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม รวมทั้งการศึกษาเอกสาร เพื่อทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และ นำเสนอข้อมูลที่ได้มาตามวัตถุประสงค์ 2 ข้อคือ (1) ศึกษาให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญใน ศิลปะการแสดงโขน ของครูชูชีพ ขุนอาจ และ (2) ศึกษาแนวทางการจัดการศิลปะการแสดงโขน ของ ครูชูชีพ ขุนอาจ
ผลการวิจัยพบว่า ครูชูชีพ ขุนอาจเป็นบุคคลที่มีความสามารถทางศิลปะการแสดงโขนในหลายด้าน ได้แก่ นาฏศิลปิน ครูสอนนาฏศิลป์โขน-ละคร ผู้ประกอบพิธีไหว้ครูโขน-ละคร ช่างทำหัวโขน ช่างทำหุ่นละครใหญ่ และผู้ควบคุมการสร้างชุดเครื่องโขน-ละคร เนื่องจากครูชูชีพได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านศิลปะการแสดงด้านต่างๆ จากโจ หลุยส์ (นายสาคร ยังเขียวสด ศิลปิน แห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง) เช่น การขับร้อง การรำ เป็นต้น รวมถึงการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง จากแผ่นวีซีดีการแสดงนาฏศิลป์โขน-ละคร ของกรมศิลปากร และจากประสบการณ์ในการร่วมงานกับวิทยาลัยนาฏศิลป ด้วยเหตุนี้ ครูชูชีพ ขุนอาจ ได้ใช้ความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ในการทำงาน
การจัดการศิลปะการแสดงโขนของครูชูชีพ ขุนอาจ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ (1) การสอนโขนสำหรับเด็ก เริ่มจากการรับสมัคร ฝึกท่าโขนพื้นฐาน คัดเลือกลูกศิษย์ที่มีความสามารถและเหมาะสมในแต่ละบทบาทการแสดงโขน โดยทำการเปิดสอนทุกวันและไม่คิดค่าใช้จ่าย จากนั้นทำการคัดเลือกลูกศิษย์เพื่อการแสดงโขนเด็ก สำหรับงานรับจ้างจากบุคคลทั่วไป โดยนักแสดงทุกคนได้รับ ค่าจ้างประมาณ 300 - 500 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน (2) พิธีไหว้ครู-ครอบครูโขน ละคร ซึ่งครูชูชีพจัดเป็นประจำทุกปี ในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม เพื่อให้ลูกศิษย์ทั้งเก่าและ ปัจจุบัน บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจได้เข้าร่วมพิธี (3) ช่างทำหัวโขน ครูชูชีพทำหัวโขนและชฎาเพื่อใช้ ในการแสดงและจัดจำหน่าย ซึ่งเป็นรายได้หลักของครอบครัว นอกจากนี้ยังเปิดสอนให้กับผู้ที่ให้ความสนใจ เช่น กลุ่มแม่บ้าน นักเรียน ประชาชนทั่วไป เป็นต้น และ (4) ช่างชุดเครื่องโขน-ละคร มีบุคคล สำคัญในการทำงานนี้คือ นางปฐมาวดี ขอปะกลาง (ภรรยาของครูชูชีพ) โดยยึดลวดลายเฉพาะของตัวละคร ตามแบบกรมศิลปากร ในปัจจุบัน โขนของครูชูชีพ ขุนอาจได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย กรุงเทพธนบุรี ในเรื่องที่พัก สถานที่ในการเรียนและฝึกซ้อม เพื่อเป็นศูนย์เผยแพร่ความรู้ การอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการแสดงโขนให้ดำรงอยู่ต่อไป The Management of Khru Chucheep Khun-aad’s Art of Mask Dance was conducted by using the qualitative analysis and the anthropological research methodologies. Data was collected from in-depth interviewing and non-participative observation and studying documents to analyze, synthesize, and present. Data was presented for 2 objectives; (1) to study the value and importance of Khru Chucheep Khun-aad’s Art of Mask dance and (2) to study the management process of Khru Chucheep Khun-aad’s Art of Mask dance.
Khru Chucheep Khun-aad is a talented artist in many parts of the art of mask dance, including: artist, teacher, leader in the respect teacher ceremony, mask craftsman, puppet craftsman, and manager of costume. He studied many performing arts from Joe Louise (Mr.Sakorn Yangkiewsod, the national artist in the field of performing art) such as singing, dancing, etc. Moreover, he studied by himself from VCDs of the Fine Art Department and the experience in working with the Dramatic Art College. That’s way, he brought this knowledge to apply in his work.
The Management of Khru Chucheep Khun-aad’s Art of Mask Dance was divided into 4 sections, which consisted of (1) teaching the mask dance for children, it started from admission, the basic mask dance training, qualifying students to actors. Khru Chucheep Khun-aad teaches everyday and don’t charge. And then, he auditioned students to the child mask dance performance, which was employed. Actors got paid about 300 – 500 baht, which depend on individual experiences. (2) the respect teacher for the art of mask dance ceremony, Khru Chucheep arrange annually on the last Sunday of March. It was arranged for the old and current student and interested persons to participate. (3) mask craftsman, Khru Chucheep makes masks and Jada heads for using in the performance and distribution, which is the main income. And he teaches for interested persons, such as housewife’s group, student, people, etc. and (4) dressmaker for mask dance, who is Mrs.Pathommawadee Khopaklang (Khru Chucheep’s wife), is based on particular characters of the Fine Art Department. At the present, Khru Chucheep Khun-aad’s art of mask dance is supported by Bangkok Thonburi University about accommodation and the learn and practice place, where is a center for knowledge dissemination, conservation, and inheritance of the art of mask dance to continue.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Collections:
Total Download:
1211