ความสัมพันธ์ของมอญ พม่า และสุโขทัย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-20

Other Title:
The relations among the Mon state, Burma and Sukhodaya between the 13 th - 14 th century A.D.
Subject:
Date:
1976
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษา เรื่องความเป็นมาของอาณาจักรมอญ พม่า และความสัมพันธ์ของมอญ พม่า กับสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง – พระเจ้าลิไท พร้อมทั้งเป็นการรวบรวมข้อมูลและที่มาของความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้
วิธีการค้นคว้ารวบรวมหลักฐานและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์นี้ จากศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร ตำนาน และเอกสารอ้างอิงอื่น ๆ ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษามอญ จากหอสมุดและสอบถามจากผู้รู้และนักวิชาการ แล้ววิเคราะห์สรุปผลตามหลักฐานที่ปรากฏ
ผลของการศึกษาค้นคว้า สรุปได้ว่า อาณาจักรมอญเป็นอาณาจักรหนึ่งในพม่าตอนใต้ ซึ่งอาจจะเจริญขึ้นในประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 และสิ้นสุดลงเนื่องจากการบุกรุกของพระเจ้าอโนรทา (Anowrahta พ.ศ. 1587 – 1620) ของพม่าสมัยอาณาจักรพุกามในศตวรรษที่ 16 จากนั้นอาณาจักรมอญก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า และมีการรวมตัวเพื่อจะให้เป็นอิสระจากพม่าในบางครั้ง แต่ไม่สำเร็จจนกระทั่งพม่าในสมัยพุกามได้เริ่มอ่อนแอลง ในสมัยพระเจ้านรถิหปเต (Narathihapate พ.ศ. 1797 – 1830) มอญจึงได้เป็นไทแก่ตัวอีกครั้งหนึ่ง ในสมัยพระเจ้าวะรรุ หรือ ไทยเรียกว่า ฟ้ารั่ว (Wareru พ.ศ. 1830 – 1849) สำหรับพม่านั้นได้เจริญขึ้นในศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าอโนรทา (Anowrahta พ.ศ. 1587 – 1620) ความเจริญมาสิ้นสุดลงในสมัยพระเจ้านรถิหปเต (Narathihapate พ.ศ. 1797 - 1830) และอาณาจักรพุกามแตกสลายในปี พ.ศ. 1842 เนื่องจากไทยใหญ่เผาเมืองพุกาม จากนั้นพม่าหลังสมัยพุกามจึงได้แตกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย 6 เมืองด้วยกัน และพวกมอญเริ่มแข็งเมืองขึ้น เนื่องจากความโกลาหลในพม่า และการก่อตัวเข้มแข็งขึ้นของพวกมอญในจังหวัดพะโค รวมทั้งเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1822 – 1842) ไม่มั่นคงพอ จึงทำให้พระองค์มีนโยบายในการผนวกดินแดนของมอญเข้าไว้ในอำนาจด้วยนโยบายทางการฑูต เพื่อจะขจัดปัญหาการสงครามซึ่งอาจจะเกิดขึ้นถ้ามอญเกิดมีกำลังเข้มแข็งขึ้น ดังนั้นจึงต้องการได้มอญเป็นเมืองหน้าด่านด้านตะวันตกสุดของสุโขทัยพร้อมทั้งตั้งเป็นตลาดการค้าของสุโขทัยด้วย
ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป วิทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นงานวิจัยระยะแรก จึงยังมีเรื่องที่ควรศึกษาค้นคว้าต่อไปให้ละเอียดมากขึ้น โดยอาจจะเป็นแนวในการศึกษาเรื่องราวของพม่าและมอญ เช่น ประวัติศาสตร์พม่าสมัยพุกาม ประวัติศาสตร์พม่าสมัยพลังอาณาจักรพุกาม หรือความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรพุกาม ในสมัยพระเจ้านรปติสิถู (Narapatisithu พ.ศ. 1716 – 1753) กับลังกา หรือประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติมอญ The objective of this thesis to study the history of the relations among Burma, Sukhodaya and the Mon State between the 13th -14th Century, A.D. Along with study will be a compilation of documents pertaining to the subject, also a listing of such sources that throw some lights on this.
Research Method
All the information and background knowledge in this thesis have been obtained from stone inscriptions, Chinese records, Thai and Chinese Chronicles, also historical references. Some are found in libraries and many given by specialists by means of translation. Generally, the languages used are in one of the following : Thai, Chinese, English, and Mon. The final analysis has also been commented by recognized authorities in the field.
Conclusion
The Mon belonged probably to an ethnic group of people who used to live gloriously in Lower Burma during the 6th century A.D., but were suppressed by King Anawrahta (1044-1077 A.D.) of the Pagan Kingdom in the 10th century A.D. The Mon tried to fight for their freedom time and again but in vains. In the reign of King Narathihapate (1244-1287 A.D.) the Pagan Kingdom was destroyed by the Shan and Mongols. In the year 1298 A.D., the Shan revolted against the Pagan and destroyed the Kingdom with the assistance of the Mongols. As a result the Kingdom was divided into into 6 states, one of which was Mon. The Mon thus became once again independent. Sukhodaya at that time was under the rule of King Ramkamhaeng whose ambition was to expand his Kingdom as much as possible whether politics-wise or economics-wise. Seeing that the Mon State could be useful to the Sukhodaya Kingdom in both ways, he eventually and successful mastered it, making it the frontier town and a good market for Sukhodaya.
Suggestion for further study
This thesis is only a pioneering attempt ; there are many topics of interest about the Mon State and Burma which could be pursued such as “Burma during the Pagan Period,” “Burma after the Pagan Period,” “Buddhism during the Pagan Period,” or “History and Cultures of the Mon People.”
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2519 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1976)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
74