การจัดการพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

Other Title:
Thai national flag museum management
Author:
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยตั้งแต่เริ่มเปิดกิจการมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2549 – 2558) ภายใต้กรอบการจัดการ 3 ด้าน คือ ด้านข้อมูลเฉพาะของพิพิธภัณฑ์ด้านการบริหารองค์กร และด้านการบริการงานพิพิธภัณฑ์ แล้วนำผลการศึกษามาวิเคราะห์โดยใช้หลักการ SWOT Analysis เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางการจัดการพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพมาทำการศึกษา มีการสัมภาษณ์บุคลากรของพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยในเชิงลึก
ผลการศึกษาพบว่า พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยเป็นพิพิธภัณฑ์แรกและพิพิธภัณฑ์เดียวในประเทศไทยที่จัดแสดงวัตถุสะสมและนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการของธงชาติไทย รวมทั้งพิพิธภัณฑ์นี้ได้มีความโดดเด่นอยู่ที่กระบวนการก่อตั้งและการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ธงชาติไทยที่สมบูรณ์ของประเทศไทย และจากการที่พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชน ทำให้มีการบริหารจัดการที่มีความคล่องตัว และสามารถดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว หัวใจสำคัญของการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยแห่งนี้ก็คือ การร่วมมือกัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่ในประเทศต่าง ๆ
ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะในการจัดการพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยในอนาคตดังนี้ พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยควรมีการทำทะเบียนวัตถุและทำบัญชีจัดซื้อวัตถุเพื่อเก็บข้อมูลของวัตถุสะสมแต่ละชิ้นไว้เป็นหลักฐาน, พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยควรมีการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมต่าง ๆ และการเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการในวงกว้าง, ควรมีการจดสถิติการเข้าชม รวมทั้งควรสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าชมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยมีการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดการที่สมบูรณ์แบบ เหมาะแก่การนำรูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์ฯ ไปเป็นตัวอย่างให้กับพิพิธภัณฑ์เอกชนหรือพิพิธภัณฑ์อื่น ๆ ได้ต่อไปในอนาคต This research aims to study the Thai national flag museum management, since it has opened in 2006 until now (2015) within three aspects of management which are the museum specific information, the organization management, and the museum services. The findings were analyzed by using SWOT Analysis, in order to find the appropriate way of Thai national flag museum management in the future. This was qualitative research by making an in-depth interview for the staff of Thai national flag museum.
The result was shown that the Thai national flag museum is the first and only one museum in Thailand which exhibits the collection objects and the exhibition about history and development of the Thai national flag. This museum has been outstanding in the process of establishing and processing. The goal of setting and operating the museum is to set up the museum to be the complete historic learning center of Thai national flag. As the Thai national flag museum is private sector, the management runs quickly. The key develop this museum is to collaborate and cooperate between Thai national flag museum and the network of Thai national flag museum in other countries around the world.
The researcher has some suggestions for setting up Thai national flag museum in the future as following issues. The Thai national flag museum should record the data of objects and de accounting in purchasing objects for keeping each of collecting objects as evidence. The museum should promote activities in various events, provide academic information in large area, and record the statistic of visitors. Moreover, the museum should survey the statistic of visitors in order to develop Thai national flag museum to be the better museum, and to manage it to be the perfect museum that could take the pattern of management to be a role model for the other private museums in the future.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Collections:
Total Download:
88