การจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่นชุมชนเกาะศาลเจ้าและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

Other Title:
Management of folk identity tourism in Koh San Chao Community Taling Chan District Bangkok
Author:
Subject:
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาเรื่อง “การจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น ชุมชนเกาะศาลเจ้าและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเกาะศาลเจ้าและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของย่านนี้อย่างสร้างสรรค์ และยั่งยืน จากการศึกษาพบว่าชุมชนเกาะศาลเจ้าเป็นชุมชนชาวสวนดั้งเดิมของย่านบางกอกหรือ กรุงเทพมหานครที่ยังคงความโดดเด่นและมีอัตลกษณ์ทางวฒนธรรม ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ชุมชนเกาะศาลเจ้า เขตตลิ่งชันนี้ได้มีผู้นําคนสําคัญคือ นายทวีศักด์ิ หว่างจันทร์ มองเห็นศักยภาพของพื้นที่และทรัพยากร วัฒนธรรมที่มีคุณค่า จึงได้เริ่มจัดการพัฒนาพื้นที่ในการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยววิถีถิ่น พร้อมกับกระตุ้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและการตระหนักรู้ถึงคุณค่า ความสําคญของสิ่งแวดล้อมและมรดกทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุุมชน โดยร่วมกนฟื้นฟูชุมชนโดยใช้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือเพื่ออนุรักษ์ สภาพแวดล้อม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุุมชนแห่งนี้โดยใช้การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน นําเสนอเรื่องราว วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตชาวสวนท ี่ สะท้อนวิถีความเป็นไทยในรูปแบบที่ เรียกว่า “การท่องเที่ยววิถีถิ่น”
จากการศึกษาพบว่าชุมชนเกาะศาลเจ้าและพื้นที่เกี่ยวเนื่องมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า น่าสนใจ พบเห็นได้ยากในเขตเมืองหลวง บรรยากาศวิถีชุมชนสอดคลองกับความต้องการของผู้คนในสังคม เมืองที่่โหยหาอดีต จึงทำให้ชุมชนเกาะศาลเจ้าและพื้นที่เกี่ยวเนื่องกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีถิ่นที่ได้รับ ความนิยมมากในปัจจุบัน ผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่ต่างเห็นพองกับการพัฒ นาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ชุมชนยังขาดอำนาจในการต่อรองการจัดการการท่องเที่ยว เนื่องจากยังตัองพึ่งพาการเข้ามาของนักท่องเที่ยว ทางเรือจากตลาดน้ำคลองลัดมะยม แต่ด้วยศักยภาพของผู้นําคนในชุมชน จุดเด่นของพื้นที่ระบบนิเวศน์ของ ความเป็นเกาะเล็ก ๆ และพื้นที่เกี่ยวเนื่องที่ยังมีแหล่งเรียนรู้อีกมากการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นของชุมชน เกาะศาลเจ้าและพื้นที่เกี่ยว เนื่อง จึงควรพัฒนาการท่องเที่ยวควบคู่กบการพัฒนาท้องถิ่นอยางบูรณาการ โดยให้ ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้และการขับเคลื่อนสร้างศักยภาพคนในชุมชนผ่านกิจกรรมการ พัฒนาที่หลากหลายเพื่อยกระดับชุมชนเกาะศาลเจ้าและพื้นที่เกี่ยว เนื่องให้เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีถิ่นที่สําคัญของกรุงเทพมหานคร และเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อชุมชน The study on “Folk identity Tourism Management in Koh San Chao Community, Taling Chan District, Bangkok Metropolis” was a qualitative research focusing on the tourism management in Koh San Chao Community and the neighboring areas in Taling Chan District, Bangkok Metropolis to find the way for tourism development in this neighborhood creatively and sustainably. Koh San Chao Community is found from the study as the traditional orchard farmer’s community in Bangkok that still remains its remarkable and unique culture. During the past 7 years, Mr. Taweesak Wangchan, the important leader of this Taling Chan community has seen the potentiality of the area and the value of its cultural resources and therefore began the management of area development as the learning resource and folk identity tourism. At the same time, there has been an encouragement concerning the community participation and realization of the value and importance of the environment and the existing cultural heritage in the community by helping to restore the community using tourism activity as a tool to preserve the environment, lifestyle and culture of the community based on the sustainable tourism, portraying the stories of cultures, traditions and lifestyles of orchard farmers that reflected the way of Thai being called “folk identity tourism.”
It is found from the study that Koh San Chao Community and the neighboring areas had their valuable and interesting cultural uniqueness that was hard to find in the metropolis. The atmosphere of folk identity in this community was in harmony with the need of city people yearning for the past and made Koh San Chao Community and its neighboring areas become a presently very popular place for folk identity tourism. Most people in the community had all been agreeing with the developments so far. However, the community lacked the power of negotiation these days concerning tourism management since they were still very much dependent on the boat transfers from Klong Lad Mayom Floating Market, the only way for tourists to get access to the neighborhood. Anyway, there were still many more learning places with the potentials of the leader, the members of the community, the strong points of the areas, the eco-system of being an islet and the neighboring areas. Therefore the development of folk identity tourism in integrative ways by giving importance to creating the learning process and propelling for human potential in the community through various development activities, in order to upgrade Koh San Chao Community and its neighboring areas as Bangkok’s important learning places and the prototype community for the tourism management by the community for the community.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Collections:
Total Download:
368
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การศึกษาพัฒนาการของชุมชนการค้าของชาวต่างชาติในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาชุมชนสำเพ็งและชุมชนพาหุรัด
Type: Thesisทรายทอง ทองเกษม (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2005) -
กระบวนการและเงื่อนไขความสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมะขามทอง ชุมชนก้าวหน้าพัฒนา เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
Type: Thesisพงษ์ศักดิ์ เห็นตระกูลดี; Pongsak Hentrakooldee (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2013) -
การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการวางผังชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนโฟร์โมสต์และชุมชนทรัพย์สินพัฒนา
Type: Thesisเอกวิทย์ นวเศรษฐ; Aegavit Navasait (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2011)จุดประสงค์ของการวิจัยนี้คือการศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน อันนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนได้ต่อไป การศึกษานี้เลือกพื้นที่ชุมชนโฟร์โมสต์และชุมชนทรัพย์สินพัฒนา ซึ่งได้รับผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่ ...