การสื่อความหมายการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในหนังสือแบบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชันมัธยมศึกษาตอนปลาย : กรณีศึกษาโรงเรียนโยธินบูรณะ

Other Title:
Interpretation of cultural heritage preservation in textbooks of learning area of social studies, religion and culture at upper secondary level : a case study of Yothinburana school
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์นโยบายการศึกษาและกลวิธีการสื่อความหมายของเนื้อหาที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในแบบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ (2) เพื่อนำเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการสื่อความหมายของเนื้อหาที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในแบบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่อวิเคราะห์นโยบายการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือแบบเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม และวิชาประวัติศาสตร์ไทยจากสำนักพิมพ์ 4 แห่ง ได้แก่ บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด, สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.), บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด และองค์การค้า สกสค. ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักเกณฑ์การสื่อความหมายมรดกทางวัฒนธรรมในกฎบัตรอิโคโมสว่าด้วยการสื่อความหมายและการนำเสนอแหล่งมรดกวัฒนธรรมซึ่งเสนอคณะกรรมการวิชาการระหว่างประเทศของสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Site หรือ ICOMOS) ร่วมกับการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา จำนวน 3 คน และการสนทนากลุ่มผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนโยธินบูรณะ จำนวน 252 คน
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อความหมายการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม 10 ตัวชี้วัด จากการวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือแบบเรียนทั้ง 4 สำนักพิมพ์พบว่ามีเนื้อหาไม่ครบตามที่แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ ผลจากการศึกษายังพบว่าไม่มีสำนักพิมพ์ใดสื่อความหมายได้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การสื่อความหมายมรดกทางวัฒนธรรมของอีโคโมส ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนและการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้กลุ่มเรียน พบว่า หนังสือแบบเรียนของสำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ได้รับเลือกว่ามีการสื่อความหมายการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมได้ดีที่สุด โดยนักเรียนและครูผู้สอนเน้นว่าเนื้อหาในหนังสือแบบเรียนควรกระชับ ทันสมัย และมีจัดระเบียบข้อมูลได้ดี ส่วนภาษาที่นำเสนอควรจะเป็นภาษาที่ทันสมัย เหมาะกับอายุของผู้เรียน และควรเลือกภาพประกอบภาพที่น่าสนใจ ทันสมัย ให้ข้อมูลสอดคล้องกับเนื้อหา สิ่งสำคัญที่สุดในการสื่อความหมายมรดกทางวัฒนธรรมในหนังสือแบบเรียนคือ การสร้างองค์ความรู้ ความเพลิดเพลิน ตลอดจนการตระหนักถึงคุณค่าและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม The objectives of the study were : (1) to analyze the cultural – educational policies and interpretation approach about Cultural Heritage Preservation in the learning Area of Social Studies, Religion and Culture, and (2) to promote the suggestions for the interpretation of the textbook contents in the Learning Area of Social Studies, Religion and Culture textbooks. Mixed methodologies, qualitative and quantitative researches were used to analyze the cultural – educational policies and textbooks of the Civics, Culture and Living subject and Thai History subjects from 4 publishers : Aksornchareontasana Press Company Limited, Institute of Academic Development (IAD) Press Company, MAC Education Press Company and Suksapanpanit Press. The data analysis is based upon the principles of heritage interpretation proposed in the ICOMOS Charter for the Interpretation and Presentation of Cultural Heritage Sites, International Council on Monuments and Site (ICOMOS) (2007), together with an interview of 3 social studies teachers and a focus group of 252 volunteers of upper level students at Yothinburana School.
The findings revealed that the Learning Area of Social Studies, Religion and Culture in the Basic Education Curriculum 2010 A.D. (2551 B.E.) contains 10 indicators related to the interpretation of cultural preservation. Based upon the content analysis of 4 publishers, the study found that the contents of their textbooks do not cover all indicators as assigned by the Basic Education Curriculum 2010 A.D. Moreover, this study also found that the textbook contents from all publishers do not completely interpret according to the ICOMOS principles of the heritage interpretation. The results from the interview of the teachers and the focus group with volunteer students from all majors of the upper secondary level showed that the Institute of Academic Development (IAD) Press Company was chosen as the most interpretative. The students and the teachers emphasized that the textbook contents should be easy, modern and well-organized. The language usage should be modern and suitable for students’ age, the pictures should be interesting, modern and associated with its contents. The most important cultural interpretation in the textbook contents is that the body of knowledge, enjoyment and awareness raising the values and reservation of cultural heritage.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Collections:
- วิทยานิพนธ์ [66]
Total Download:
316