ประเพณีประดิษฐ์กับการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม : กรณีศึกษางานเทศกาลประเพณีแซนโฏนตา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Other Title:
Invented tradition and cultural resource management : a case study of San Don Ta Festival, amphoe Khunkhan, Si Sa Ket province
Author:
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานเทศกาลประเพณีเป็นทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมของคนท้องถิ่น ในด้านการรื้อฟื้นและพัฒนาการใช้ทรัพยากรวัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมสมัย ที่สร้างพลังและจิตสำนึกร่วมของคนท้องถิ่น โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษางานเทศกาลประเพณีแซนโฎนตาขุขันธ์ ผ่านปรากฎการณ์ประเพณีประดิษฐ์ในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ทราบถึงบทบาทและกระบวนการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมบนพื้นที่งานเทศกาลประเพณี วิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการจัดการที่เหมาะสมแก่ท้องถิ่น ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการลงพื้นที่สำรวจ เก็บข้อมูล สัมภาษณ์และสังเกตกิจกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นในพื้นที่งานเทศกาลประเพณี
ผลการศึกษางานเทศกาลประเพณีแซนโฎนตาขุขันธ์ปัจจุบันเป็นกิจกรรมที่สร้างพลังและจิตสำนึกร่วมของกลุ่มคนท้องถิ่นและเป็นพื้นที่ทางสังคมแห่งใหม่ให้กับทรัพยากรวัฒนธรรมท้องถิ่น พบว่า การจัดการของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องยังมุ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์เพื่อนำเสนอตัวตนต่อสาธารณชนมากกว่าการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มคนท้องถิ่น ทำให้เป้าหมายของกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากการส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรมและมูลค่าด้านเศรษฐกิจร่วมกันของชุมชน กลายเป็นการช่วงชิงบทบาทเพื่อผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มคนแทนการร่วมมือระหว่างกลุ่มคนท้องถิ่น
งานเทศการประเพณีแซนโฎนตาขุขันธ์มีศักยภาพในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้สาธารณะของชุมชนผ่านกระบวนการสื่อความหมายและการถ่ายทอดชุดความรู้ผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรม โดยการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนในท้องถิ่น พร้อมการพัฒนาผลผลิตทางวัฒนธรรมในรูปแบบสินค้าวัฒนธรรม และการสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และจำหน่ายสินค้าวัฒนธรรมของท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม Cultural resource in the form of traditional festival plays important role in the renewal and development of contemporary local of cultural resource for the empowerment and promotion of local solidarity in the management of cultural resources. This research is the study of San Don Ta Khukhan Festival from the invented tradition theoretical framework. It aims to ascertain the roles and process of cultural resource management of this traditional festival in order to identify suitable management guideline for the Festival. Qualitative research methodology was used to collect data from fieldwork surveys, interviews, and observation of the social activities that took place at the Festival.
The research found San Don Ta Khukhan Festival to be capable of empowering and promoting local solidarity in the management of contemporary cultural resource. The Festival has created a new social space for local cultural resource. People who participate in the management of the Festival are found to focus on presenting a positive image of themselves to the public rather than on creating a shared learning process for local people. The Festival’s objectives have changed from promoting cultural / economic values and local community cooperation to competing among local groups for the control of benefits from the Festival.
San Don Ta Khukhan Festival has high potential for the development of public learning process in the community through the process of meaning interpretation and transferring particular sets of knowledge through cultural activities. Local participation is encouraged together with the development of cultural products as cultural goods. Local museum should be set up as a learning source and a concrete venue for the sale of local cultural products.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Collections:
- วิทยานิพนธ์ [66]
Total Download:
104