การจัดการวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ศึกษาผ่านการออกแบบผ้ากลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

Other Title:
Cultural management of commercial studies through design ethnic fabric, Mueang Chiang Khong Chiang Rai province
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาวิจัยนี้เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการบริหารจัดการให้การออกแบบต่อยอดศิลปวัฒนธรรมการแต่งกายของชนเผ่า 6 ชนเผ่าในบริเวณพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ม้ง เมี่ยน กะเหรี่ยง อาข่า ลีซู และลาหู่ และการนำการตลาดสมัยใหม่มาใช้ให้เกิดการค้าขายศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนเผ่าเหล่านี้ที่คนทั่วไปชื่นชมแต่ยังเข้าไม่ถึงมาทำให้สวมใส่ได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง โดยรวบรวมกลุ่มสตรีผู้มีความชำนาญในงานหัตถกรรมประจำชนเผ่าเพื่อเก็บข้อมูลความรู้และผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากงานฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชนเผ่าเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจกับนักออกแบบที่จะเข้าไปศึกษาข้อมูลในท้องที่จนเกิดการออกแบบจากผลิตภัณฑ์ดั้งเดิม และนำมาพัฒนารูปแบบการขายจากการใช้ทำเลที่ตั้งเหมาะสมและช่องทางการตลาดสมัยใหม่ เมื่อมีการค้าขายจะนำมาซึ่งการทำมาหากิน เกิดรายได้ อยู่ดีกินดี ในวิถีแต่ละชนเผ่า ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมของตนเพราะจะกลายมาเป็นอาชีพหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตตนและครอบครัวอย่างยั่งยืนผลพลอยได้ที่ตามมาอีกทางหนึ่งคือ ทำให้การประกอบสัมมาอาชีพของชนเผ่าต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงในการทำผิดกฎหมายลดลง เช่น การค้าขายยาเสพติดตามแนวรอยต่อขุนเขา ตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งการจับกุมลงโทษเพียงอย่างเดียวไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ การสร้างศิลปวัฒนธรรมของตนที่มีอยู่จากภูมิปัญญาให้ทำมาหากินเลี้ยงชีพได้ต่างหากที่จะฟื้นคืนคุณภาพชีวิตและศิลปวัฒนธรรมดีงามให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน The research aims at studying the management of extension of cultural dressing of the 6 ethnic groups in the area of Chiengkhong district, Chiengrai province, Hmong Mien Karen Akha Lisu and Lahu. Moreover, Bringing in the new strategic marketing is another goal to increase the demand and daily usages for customers nowadays who definitely appreciate cultural products. Research data came from skilled ladies who understand the identity of their ethnic groups. They provided information and experiences to new designers who keen to learn about the original techniques in order to develop the products in be sold through new marketing channels and appropriate locations. Merchandising brings in income to their families and to promote the wellbeing of the members in their ethnic groups as a result of creating an idea of preservation of their own cultural sustainable living. The most important outcome is that these ethnic groups of people would value their carriers and avoid unlawful occupations for instances drugs dealing, forest destruction. Therefore, their local wisdom can reverse their cultural living quality to be sustainable.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Collections:
- วิทยานิพนธ์ [66]
Total Download:
161