การศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเกาะสมุย

Other Title:
Assessment towards management guidelines for vernacular architecture in Ko Samui area
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นชุมขนโบราณแห่งหนึ่งในภาคใต้ ปรากฎหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สืบเนื่องมาจวบจนสมัยปัจจุบัน มีทรัพยากรวัฒนธรรมท้องถิ่นประเภทสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นตั้งกระจายอยู่ทั่วไป การวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมายศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเกาะสมุย เพื่อนำผลจากการศึกษาวิจัยมาใช้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมดังกล่าว โดยใช้วิธีการวิจัย ได้แก่ การศึกษาจากเอกสารอ้างอิง และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มตัวอย่าง และใช้แนวคิดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แนวคิดการอนุรักษ์ย่านประวัติศาสตร์ หมู่บ้านประวัติศาสตร์ และแนวคิดการทำแผนที่มรดกทางวัฒนธรรมประกอบในการศึกษา
ผลจากการศึกษาพบว่า เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ยังคงแสดงถึงเอกลักษณ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจนทั้งสิ้น 72 รายการ แบ่งเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทเรือนเดี่ยว จำนวน 54 รายการ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทเรือนแถวในย่านชุมชนการค้า จำนวน 18 รายการ ซึ่งทรัพยากรวัฒนธรรมท้องถิ่นประเภทสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเหล่านั้น ต่างมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์สภาพแวดล้อม ความเชื่อและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น โดยคนในท้องถิ่นบางส่วนสนใจอยากอนุรักษ์และธำรงรักษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีในท้องถิ่น เพราะตระหนักถึงคุณค่าในฐานะประจักษ์พยานอันแสดงถึงพัฒนาการที่สืบเนื่องยาวนานของชุมชนท้องถิ่น และสามารถจัดการให้เกิดประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวรวมทั้งการปลุกจิตสำนึกเพื่อสร้างพลังชุมชนอย่างยั่งยืน
การศึกษาครั้งนี้ได้ข้อสรุปที่สามารถนำไปต่อยอดใช้กำหนดแนวทางในการจัดการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ในท้องที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อย่างเต็มรูปได้ ดังนี้
1. การนำไปใช้ในฐานะทรัพยากรหรือต้นทุนด้านการท่องเที่ยว เพื่อสร้างโอกาสใหม่ในการพัฒนาชุมชนให้กับท้องถิ่นได้ในหลายประเด็น รวมทั้งนำไปใช้ในฐานะทรัพยากรหรือต้นทุนด้านการท่องเที่ยว
2. การให้การสนับสนุนเพื่อดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
3. การกำหนดนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเกาะสมุยโดยหน่วยงานหรือองค์กรปกครองท้องถิ่น ด้วยการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ครอบคลุมและเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเกาะสมุย Ko Samui, located in Surat Thani Province, is a traditional commune in the South of Thailand and contains historical remnants ranging from prehistoric periods to today. Cultural resources and vernacular architecture can be found throughout the island, reflection the evolution of local history. This research aims to study the course of vernacular architectural management in Ko Samui for use as a guideline for further management. The research revises reference documents, in-depth interviews with sample groups, vernacular architecture concepts, historical town preservation concepts and concepts of mapping cultural heritage.
The results of the study revealed that Ko Samui possesses 72 sites of vernacular architecture. Of these 72 sites, 54 are detached buildings and 18 are shop houses in trading communities. These cultural resources are related to historical progression, surroundings, beliefs and lifestyles of the local population. Almost local people are interested in the preservation of its history, recognizing its value as a testimony to the development of local communities, and are able to gain benefit by using it as a tourist attraction while also raising awareness for community sustainment and empowerment.
This research leads to three summarized topics that can be used in further applications for maintaining vernacular architecture in Ko Samui :
1. Use as a resource, material or tourist resource.
2. Support for the establishment of a local cultural museum.
3. Establishment of policies to benefit historical preservation.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Collections:
- วิทยานิพนธ์ [66]
Total Download:
166