การศึกษารูปแบบและคติการนับถือพระกุเวรในสมัยทวารวดี

Other Title:
A study on religious belief and iconography of Kuver in Dvaravati period
Author:
Subject:
Date:
1984
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับคตินับถือและรูปแบบของเทพกุเวรในประเทศไทยสมัยทวารวดี โดยการศึกษาประวัติความเป็นมาของการนับถือและรูปแบบของเทพกุเวรในศาสนาฮินดู พุทธและเชนจากข้อมูลในตำราและเอกสารด้านศาสนา ประติมาณวิทยาและศิลปะ แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลที่เป็นวัตถุ ซึ่งพบในไทยในระยะเวลาดังกล่าว
ผลของการวิจัยพอสรุปได้ว่า เทพกุเวรเป็นเจ้าแห่งยักษ์ในลัทธิบูชายักษ์ ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นเทพแห่งความมั่งคั่งและโลกบาล (เทพรักษาทิศ) ประจำทิศเหนือในศาสนาฮินดู ในพุทธศาสนาจัดให้เป็นเทพกุเวรเป็นบริวารของพระพุทธเจ้าและโลกบาลประจำทิศเหนือเช่นกัน เมื่อมีฐานะเป็นเทพแห่งความมั่งคั่งได้รับพระนามว่า เทพชัมภล ส่วนในศาสนาเชนนับถือเทพกุเวรเป็นบริวารของอรทัตองค์ที่ 19 ซึ่งมีชื่อว่า อวสรปิณิ
คติการนับถือเทพกุเวรคงเข้ามาในไทยพร้อมกับอารยธรรมอินเดียที่แพร่หลายเข้าสู่ดินแดนอาเซียอาคเนย์ และผู้ที่นำเข้ามาคงได้แก่ พ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและตั้งหลักแหล่งในแถบนื้ ได้พบว่าในไทยรูปเทพกุเวรทำขึ้นตามคตินับถือ 2 แบบคือ แบบเทพแห่งความมั่งคั่งและแบบเทพรักษาทิศ
รูปแบบเทพแห่งความมั่งคั่งในภาคกลาง ได้แก่ รูปเพกุเวรและรูปเทพชัมภลในภาคใต้ ในภาคกลางนิยมทำเหรียญดินเผา แสดงรูปเทพกุเวรเพียงองค์เดียวและเหรียญดินเผากับแผ่นดินเผาแบบสองหน้า แสดงรูปเทพกุเวรคู่กับคช-ลักษมี ซึ่งแบบหลังนี้ไม่เคยพบในอินเดียมาก่อนและพบเฉพาะในไทยเท่านั้น แต่ส่วนมากรูปเทพกุเวรและคช-ลักษมีที่ปรากฏอยู่บนเหรียญดินเผาหรือแผ่นดินเผา มีลักษณะแบบเดียวกับที่ปรากฏในศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ (ราวพุทธศตวรรษที่ 14) นอกจากแผ่นดินเผาบางชิ้นมีรูปเทพกุเวรและคช-ลักษมีต่างออกไป ซึ่งคงเกิดจากการดัดแปลงของช่างพื้นเมือง ในทางใต้พบรูปเทพชัมภลทำเป็นประติมากรรมสำริดและแม่พิมพ์สำริดรูปเทพชัมภล แม่พิมพ์นี้คงใช้สำหรับหล่อรูปเทพชัมภลขนาดเล็กไว้บูชาเช่นเดียวกับพระพิมพ์ ทั้งรูปประติมากรรมสำริดและรูปเทพชัมภลที่หล่อออกจากแม่พิมพ์ มีลักษณะคล้ายรูปเทพชัมภลที่พบในศิลปะแบบชวาภาคกลาง (ราวพุทธศตวรรษที่ 15 ) และแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบปาละ ซึ่งเป็นต้นแบบ
รูปเทพกุเวรที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยทำเป็นรูปเทพรักษาทิศเหนือประดับอยู่บนหลังคาปราสาทหินในศิลปะแบบลพบุรีและสลักรวมอยู่ในแท่งหินสลักรูปเทพ 9 องค์ แต่มีรูปแบบต่างจากเทพรักษาทิศในอินเดียอย่างสิ้นเชิง และจัดได้ว่ามีรูปแบบที่ทำตามแบบของศิลปะแบบขอมหรือแบบลพบุรี The purpose of this thesis is to study the religious belief and iconography of Kuvera in Dvaravati Period in Thailand. The study was conduct by tracing the history of religious belief and iconography of Kuvera in Hinduism, Buddhism and Jainism through texts and documents of religion, iconography and art. The data obtained from this study, then, was analyzed and compared with objects found in Thailand in the same period.
The conclusion is that Kuvers is the King of Yaksas and related with the prosperity of agricultural products, He, later, is regarded as the Lord of Wealth and the Gaurdian of the Northern Quarter of the Universe. Obviously, he is worshipped by the Hindu, the Buddhist and the Jainas. In Buddhist texts, he is mentioned of the Northern quarter. With the Jainas, Kuvera is the attendant of the nineteenth Arhat of present Avasarpini.
It is believed that the worship of Kuvera was brought into Thailand during the period that Indian civilization spread over Southeast Asia. Particularly, Indian treadmen who travelled to this region and settled down. It is also found that Kuvera in Thailand were sculptured in favour of two beliefs, that is, as God of Wealth, as the Guardian.
As God of Wealth, Kuvera was found in the Central and Jambala in the South. In the Central, one-cotta cions of Kuvera and two-sided terra-cotta medallions of Kuvera and Gaja-Laksmi were popularly sculptured, Note that, the latter has been found only in Thailand. However, terra-cotta medallions carrying the depiction of Kuvera on one side and Gaja-Laksmi on the other apparently looked liked post Gupta Art (14th B.E.) this not included some terra-cotta medallions which were slightly different according to the adaptation of the local artists. In the South, Jambala are sculptured in bronz and this mould of Jambala may used as mould for small Kuvera for worship as well as votive tablet. Both bronz sculpture and, Jambala from moulding resemble Jambala found in Central Jawanese Art (15th B.E.). Moreover, this resemblance indicated the influence of Pala proto-type.
Lastly, Kuvera found in the Northeast appeared in the form on guardian of Lopburi Period. It was carved in the form of 9 gods which mostly differed from Indian guardians. To sum up, this type was adoped from Khmer or Lopburi style.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์)--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2527 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1984)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
129