การศึกษาโครงกระดูกที่ได้จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีทัพหลวง คุ้งขี้เหล็ก อู่ทอง ซับจำปา และโคกพนมดี

Other Title:
The study on the skeletal remains excavated from sites Tub Luang, Kungkeelek, U-Thong, Sub-Champa and Kok Panomedee
Author:
Subject:
Date:
1986
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
Dr. H.G. Quaritch Wales (1969) ผู้ที่ขุดค้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และจากจดหมายเหตุจีน เชื่อว่ามีอาณาจักรทวารวดีจริงในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน คนที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่เป็นคนไทย มีคนเชื้อชาติมอญเป็นชนชั้นปกครอง หลักฐานส่วนใหญ่ที่ได้จากสิ่งก่อสร้างบนพื้นดินและสิ่งของเครื่องใช้ที่ฝังไว้กับศพและอักษรมอญที่จารึกอยู่ การศึกษาโครงกระดูกเพื่อบอกเชื้อชาติได้กระทำกันน้อยมาก การใช้โครงกระดูกสำหรับแสดงเชื้อชาติได้ทำการศึกษาโดยศาสตราจารย์นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร และคณะสำหรับโครงกระดูกสมัยหินใหม่ขุดพบที่หมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี (1969) โครงกระดูกสมัยทวารวดีที่พบที่ตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (2513) และโครงกระดูกหลายสมัยที่ทำการขุดค้นได้จากโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยนานดำรงเกียรติ นกสกุล (2524) ผู้เสนอวิทยานิพนธ์จึงศึกษาเพิ่มเติมจากโครงกระดูกที่ขุดได้ใหม่ของสมัยทวารวดีและที่ส่งมารวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑสถานก่อนประวัติศาสตร์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลับมหิดล แล้วนำผลที่ได้จากลักษณะของโครงกระดูกทั้งที่วัดไม่ได้และที่วัดได้ไปเปรียบเทียบกับโครงกระดูกคนไทยที่รวบรวมไว้ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลับมหิดล และได้ทำการศึกษาแล้วโดยอาจารย์ในภาควิชากายวิภาคศาสตร์ (สรรใจ แสงวิเชียร 2514)
ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากโครงกระดูกที่รวบรวมได้แตกหักเสียหายเป็นส่วนมากจนไม่สามารถจะประกอบให้ทรงรูปเดิมได้ แต่ก็นับได้ว่าเป็นการศึกษาโครงกระดูกของสมัยทวารวดีที่มากกว่าที่ได้เคยทำการศึกษามาแล้วและพอสรุปได้บางประการ
การพิจารณาว่าแหล่งขุดค้นใดเป็นแหล่งของสมัยทวารวดีนั้น ก็โดยอาศัยหลักฐานโบราณวัตถุที่ขุดค้นขึ้นมาได้เป็นสิ่งยืนยันและพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางูมิศาสตร์ ฉะนั้นในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีภาพภูมิประเทศ แผนที่ และสิ่งของที่ขุดได้ประกอบอยู่ในแต่ละบทด้วย
การศึกษาโครงกระดูกของสมัยทวารวดีได้ทำการศึกษาจากแหล่งต่าง ๆ จำนวน 5 แหล่งด้วยกันคือ
1. แหล่งโบราณทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ผลการขุดค้นและศึกษาโครงกระดูกได้พิมพ์เป็นหนังสือ (สุด แสงวิเชียร 2513) ผู้เสนอวิทยานิพนธ์ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมและดัดแปลง ผลสรุปว่าไม่มีลักษณะทางโครงกระดูกใดที่แตกต่างไปจากโครงกระดูกของคนไทยปัจจุบัน การใช้เครื่องประดับและประเพณีการตกแต่งฟันก็ยังคงสืบเนื่องต่อกันมาตั้งแต่สมัยหินใหม่
2. แหล่งโบราณคดีคุ้งขี้เหล็ก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โครงกระดูกที่ได้จากแหล่งโบราณคดีนี้ขุดค้นโดยอาจารย์จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เมื่อ พ.ศ. 2518 เป็นผู้มอบให้ โครงกระดูกค่อนข้างชำรุด ได้ทำการศึกษาทั้งหมด 7 โครง โดย 6 โครงมีหมายเลขกำกับ อีก โครงหนึ่งใช้ชื่อว่าโครงที่ซ้อนกันทางทิศเหนือ ได้รายงานผลการศึกษาแต่ละโครงถึงลักษณะที่อาจวัดได้และที่ไม่อาจวัดได้ หลังจากนั้นก็จะนำไปเปรียบเทียบกับที่รายงานไว้แล้วของรองศาสตราจารย์นายแพทย์สรรใจ แสงวิเชียร (2514) คงเปรียบเทียบได้แต่เพียงโครงหมายเลข 1 เท่านั้น นอกนั้นแตกหักไม่สามารถจะเปรียบเทียบได้ ขนาดต่าง ๆ อยู่ในระหว่างค่าเฉลี่ยสูงสุดถึงค่าเฉลี่ยต่ำสุด (range) ของคนไทยทั้งสองเพศ
3. แหล่งโบราณคดีอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครปฐมส่งมาให้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2520 เนื่องด้วยกระดูกที่ใส่กล่องมามีสภาพแตกหักเสียหายหมด กะโหลกบางกะโหลกมีส่วนหน้าแตกหายไป และภายในกะโหลกมีทรายบรรจุอยู่เต็ม คงแยกได้แต่ส่วนคางล่างชิ้นเดียวว่าเป็นของคนอายุน้อยเพราะฟันกรมซี่ที่ 3 ยังไม่ขึ้น มีเศษของคางบนอีก 1 ชิ้น คงอาศัยลักษณะวัตถุที่ขุดพบบ่งชี้ว่าเป็นของคนในสมัยทวารวดี
4. แหล่งโบราณคดีซับจำปา อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ กรุงเทพมหานคร เป็นผู้มอบให้เมือ พ.ศ. 2514 จากการขุดค้นโดยอาจารย์และนักศึกษาของคณะโบราณคดีพบว่าซับจำปาเป็นแหล่งที่มีร่องรอยบนผิวดินว่าเป็นสมัยทวารวดี จากภาพถ่ายทางอากาศแสดงรูปเมืองที่มีคูและเนินดินล้อมรอบ สิ่งของที่พบอาจเก่าถึงสมัยหินใหม่และต่อลงมาจนถึงสมัยทวารวดี การขุดค้นได้พบโครงกระโกเป็นจำนวนมาก แต่สภาพของโครงกระดูกไม่สมบูรณ์
5. แหล่งโบราณคดีพนมดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี นายดำรงเกียรติ นกสกุล เป็นผู้ขุดค้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เขียนเป็นวิทยานิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2525 โดยขุดหลุมขนาด 5 X 3 เมตร ลึก 8.8. เมตร พบโครงกระดูกเป็นจำนวนมากซ้อนกันเป็นชั้น ๆ (หลายสมัย) และโดยการหาอายุโดยวิธีเรดิโอคาร์บอน ทำให้ทราบอายุของโครงแน่นอนขึ้น การศึกษาจาก 2 โครง (โครงที่ 2 และโครงที่ 4 ของรายงานการขุดค้น) ได้อายุอยู่ในสมัยทวารวดีคือประมาณ 1,900 ปี โครงที่ 2 หรือโครง 4 ในรายงานการขุดค้นมีส่วนกะโหลกและส่วนอื่น ๆ ของโครงเกือบครบถ้วน การทำความสะอาดค่อนข้างยากเพราะศพถูกโยด้วยดินแดง วัตถุที่โรยติดกับเนื้อกระดูกแน่นจนไม่อาจทำการวัดได้แน่นอน เฉพาะลักษณะที่วัดได้ซึ่งเป็นโครงของชายและมีขนาดที่วัดอยู่ในค่าเฉลี่ยสูงสุดถึงค่าเฉลี่ยต่ำสุดของที่วัดได้ในโครงกระดูกของคนไทยปัจจุบัน (สรรใจ แสงวิเชียร 2514)
ผลของการศึกษาจากแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีทั้ง 5 แหล่ง ทำให้สันนิษฐานได้ว่า โครงกระดูกของคนสมัยทวารวดีที่พบนั้นมีลักษณะทางกายภาพไม่แตกต่างไปจากโครงกระดูกของคนไทยปัจจุบัน From the result of excavation at U-Thong and from the Chinese chronicle Dr.H.G. Quaritch Wales believed that there were real Dvaravati Kingdom in the territory of present day Thailand. By using the remains of architectural structures, skeletons and artifacts found with the excavated skeletons be believed that the people who inhabited there were almost Thai, except the ruling class might be Mons. Using excavated skeletons for the indentification of races were done by Sangvichien and others on Neolithic skeletons at Ban Kao, Kanchanaburi (1969) and Dvaravati skeletons at Tub Luang, Nakorn Prathom (B.E.2513) and skeletons of various periods excavated at Kok Panomdi, Chonburi by Mr. Damrongkiat Noksakul (B.E.2524). The result encouraged the author to study the skeletons of Dvaravati Period recently found and of these sent for study at the Museum of Prehistory, Department of Anatomy, facblty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, for further information on races of people of Dvaravati period. The study includes the comparison of non-metrical characteristics with recent Thai skeletons collected at the department of Anatomy, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital University (Sanjai Sangvichien B.E. 2514).
The result from this study is not yet complete ; due to the poor materials making them impossible to reconstruct into perfect form and unable to make measurement. However, the study includes more skeletons than those in the former studies and consequently some conclustions could be deduced.
For the identification of sited excavated finds found from former excavations were used together with the history and geography of the sites. This results in including maps and aerial photos of the sites together with those of the artifacts found from each sites.
The skeletons from the following sites were studied :-
1. Tub Luang, Amphoe Muang, Changwat Nakorn Pratom. The site was excavated and the skeletons studies by Prof.Sood Sangvichien and his associates resulting in published into book form (B.E.2513). This study expands the former study and came to the conclusion that there were no differences in both characteristics of Tub Luang skeletons from the recent Thai skeletons and the artifacts can be traced up to the Neolithic period.
2. Kungkeelek, Amphoe Kamphang Saen, Changwat Nakorn Prathom. The skeletons were donated by members of Faculty of Arts (Tub Kaeo), Silpakorn University (B.E.2518). They were badly damaged, 6 of 7 skeletons were numbered and one of them identified by the poling of skeletons in the northern part of the excavated site. This study includes both metrical and non-metrical characteristics and making comparision with the characteristics of recent Thai skeletons (Sanjai Sangvichien B.E. 2514) by using range measurement. The comparison could be done only with skeleton No.1
3. U-Thong, Changwat Supanburi. The skeletons and artifacts were sent by the curator of the National Museum at Nakorn Prathom (B.E.2520) . The bones were sent by putting in boxes without any wrapping and thus resulting in the breaking and damaging of nearly all skeletons, except a piece of mandible of a young one, because of the 3rd. molar not yet erupted. Another piece of upper jaw only two teeth could be identified. The identification of artifacts indicates *** that they were skeletons of Dvaravati period.
4. Sub Champa, Amphoe Chaibadal, Changwat Lopburi. The site showed very well remains of architectural structure of Dvaravati period. Aerial photos showing a good site – a town with moats and walls. Some of the artifacts might be as old as the Neolithic period. Many skeletons were sent (B.E.2514), to the Museum of Prehistory at Siriraj.
5. Kok Panomdi, Amphoe Panad Nikom, Changwat Chonburi. The excavation was done by digging into a large pit about 5 X 3 metres wide and deep down to 8.80 metres. The skeletons of various periods were found lying in succeeding levels. At level 230-240, 250-260 CM.DT. Radiocarbon dating is about 1,900 years old. This study includes 2 skeletons, No.1 and No.2 (correspond to No.2 and No.4 of the excavation report, B.E.2524).
Skeleton No.2 (No.4 in the report) is nearly complete, including skull and other parts of the skeleton. The skeleton was rather difficult to clean because of the sprinkling of red orchre (the red soil with high percentage of ferric oxide –Pe2 O2) on the dead body before burial, causing adhesion of the orchre on the surface of the bones, so the measurement is rather inaccurate. This skeleton belongs to a male, all characteristics fall within the range of Thai skeletons.
From the study of those 5 Dvaravati Sites. The author came to the conclusion that skeletons of Dvaravati period have no characteristics different from those of recent Thai skeletons.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2529 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1986)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
178