dc.contributor.author | ดวงกมล อัศวมาศ | |
dc.contributor.author | Duangkamol Aussavamas | |
dc.date.accessioned | 2019-06-29T03:55:30Z | |
dc.date.available | 2019-06-29T03:55:30Z | |
dc.date.issued | 1999 | |
dc.identifier.uri | http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/1214 | en |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์))-- มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542. | |
dc.description | Thesis (M.A. (Prehistoric archaeology))--Silpakorn University, 1999) | |
dc.description.abstract | This study focused on a comparative study of the pastes, forming
techniques and decorative designs of pottery from 2 prehistoric periods of
Prasat Phanom Wan. The first cultural period of Prasat Phanom Wan was dated
prior to 370 B. C. � 230 A. D., while the second cultural period is dated between
370 B. C. � 230 A. D. In addition, this study included others artifacts to study
cultural change of Prasat Phanom Wan in comparison with potteries from the
same regions
The result showed that there were 20 pots in the burials. The potteries
forms of daily usage potteries included serving vessels, preparing vessels and
cooking vessels which made for offerings to the sprits of the dead. In order to
study of material, temper, decorative and firing temperature, the Petrographic
Analysis was applied and chemical analytical technique including ICP-Atomic
Emisstion Spectrometry by comparing the samples of different periods. The
result showed that these clay were the same type and came from the different
source. There were different of temper used between 2 periods: First Period
was characterized by using temper as grog and hand forming technique and
decorated with as plain, coiling, incised and impression (mat). Second period
was characterize by using temper as organic matter (rice chaff). Also the
evidence of wheeling technique was found with decorated with polishing and
black burnishing surface or burnishing. Firing temperature of both periods were
the same as open firing and low temperature.
The analysis showed that there were evidence of cultural change at
Phanom Wan in comparison with other sites in the Upper Mun Valley, the pot
sherds showed that they shared the same types and temper. | |
dc.description.abstract | การศึกษาภาชนะดินเผาจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีปราสาทพนมวันในครั้งนี้ ได้ทำ
การศึกษาเปรียบเทียบส่วนผสม เทคนิคการผลิต และการตกแต่งภาชนะดินเผา รูปแบบเด่นของ
วัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ 2 ระยะ ที่แหล่งโบราณคดีปราสาทพนมวัน วัฒนธรรมสมัยที่
1 ของปราสาทพนมวันนั้นกำหนดอายุอย่างกว้าง ๆ ได้ประมาณก่อน 370 ปีก่อนคริสตกาล คริ
สตศักราช 230 ส่วนในสมัยที่ 2 ซึ่งกำหนดอายุด้วยวิธีใช้ AMS (Accerelator Mass
Spectrometry) ได้ระหว่าง 370 ปีก่อนคริสตกาล คริสตศักราชที่ 230 นอกจากนี้ยังใช้หลัก
ฐานโบราณวัตถุประเภทอื่นๆ เป็นหลักฐานประกอบการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางวัฒน
ธรรมของแหล่งโบราณคดีปราสาทพนมวัน และการศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมที่ปราสาทพนม
วันกับแหล่งโบราณคดีใกล้เคียงอื่น ๆ
ผลการศึกษาสรุปได้ว่าภาชนะดินเผาที่พบในหลุมฝังศพจำนวน 20 ใบ มีลักษณะรูปทรง
เหมือนภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป คือภาชนะใส่อาหาร ภาชนะจัดเตรียมอาหาร และ
ภาชนะหุงต้ม น่าจะเป็นภาชนะที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมการฝังศพ โดยเฉพาะ ส่วนในเรื่อง
การศึกษาวัตถุดิบ ส่วนผสม การตกแต่ง และอุณหภูมิการเผา ศึกษาโดยวิธีศิลาวรรณา และวิธี
วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วย ICP-Atomic Emission Spectrometry เพื่อเปรียบเทียบ
ภาชนะทั้ง 2 แบบ พบว่าดินที่นำมาทำภาชนะดินเผาทั้ง 2 สมัย น่าจะเป็นดินจากคนละบริเวณ
แต่ก็เป็นดินที่เกิดบริเวณที่ราบลุ่มเช่นเดียวกัน ส่วนผสมที่ใช้พบว่ามีความแตกต่างกัน โดย
ภาชนะดินเผาในสมัยที่ 1 ซึ่งเป็นสมัยแรกของแหล่งโบราณคดีนี้มีกร๊อกเป็นส่วนผสมในเนื้อดิน
ส่วนภาชนะดินเผาในสมัยที่ 2 มีการเติมอินทรีย์วัตถุคือ แกลบข้าวลงไปในเนื้อภาชนะดินเผา
เทคนิคการขึ้นรูปภาชนะ 2 สมัยนี้ก็ต่างกัน โดยพบว่าสมัยที่ 1 นิยมการขึ้นรูปด้วยมือ แต่ใน
สมัยที่ 2 พบการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนเพิ่มขึ้นอีกวิธีหนึ่ง การตกแต่งภาชนะของ 2 สมัย มีการตก
แต่งต่างกัน โดยสมัยที่ 1 ส่วนใหญ่ภาชนะจะมีผิวเรียบมีการตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ในแนว
ดิ่งและแนวเฉียง ลายขูดขีด และลายจักสาน ส่วนภาชนะดินเผาในสมัยที่ 2 ตกแต่งด้วยการรม
ควันร่วมกับการขัดมันที่ผิวภาชนะ หรือมีการรมควันเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามวิธีการเผา
ภาชนะทั้ง 2 สมัยคล้ายกันคือ เป็นการเผาแบบกลางแจ้ง มีอุณหภูมิต่ำ จากผลการศึกษาภาชนะ
ดินเผาครั้งนี้บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่แหล่งโบราณคดีปราสาทพนมวัน ดังเห็น
ได้จากความแตกต่างของรูปแบบภาชนะที่พบใน 2 สมัยแหล่งโบราณคดีนี้ นอกจากนี้เมื่อนำ
ภาชนะดินเผาของปราสาทพนมวันไปเปรียบเทียบกับแหล่งโบราณคดีที่อยู่ใกล้เคียงกันนั้น พบ
ว่าลักษณะของภาชนะดินเผาทั้งรูปแบบและส่วนผสมมีความคล้ายคลึงกัน จัดอยู่ในช่วงอายุสมัย
ที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งแสดงถึงการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มชุมชนใกล้เคียง ในเขตบริเวณแม่น้ำ
มูลตอนบนด้วยกัน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | |
dc.subject | โบราณคดี (การขุดค้น) -- ไทย -- นครราชสีมา. | |
dc.subject | เครื่องปั้นดินเผา -- ไทย -- นครราชสีมา. | |
dc.subject | ปราสาทพนมวัน (นครราชสีมา) | |
dc.title | การวิเคราะห์ภาชนะดินเผาจากแหล่งโบราณคดีปราสาทพนมวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา | |
dc.title.alternative | Pottery analysis from Prasat Phanom Wan, Muang district, Nakhon Ratchasima province | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยศิลปากร | |
dc.degree.level | Master Degree | |
.custom.total_download | 31 | |