การวิเคราะห์แบบแผนการกระจายตัวและแปลความหมายของหลักฐานทางโบราณคดีประเภทกระดูกสัตว์จากแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ชื่อเรื่องอื่น:
Temporal and spatial analysis of faunal remains from Tham Lad Rockshelter site, Pang Mapha District, Mae Hong Son Province
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2011
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลความหมายของแบบแผนการกระจายตัวของหลักฐานทางโบราณคดีประเภทกระดูกสัตว์ และเปลือกหอย และเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ในกิจกรรมการอยู่อาศัยของกลุ่มคนล่าสัตว์-เก็บหาอาหารที่เข้ามาใช้พื้นที่บริเวณแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอดในสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย (ประมาณ 32,000-11,500 ปี มาแล้ว) โดยนำแนวคิดด้านสัตววิทยาโบราณคดี โบราณคดีเชิงพื้นที่ และชาติพันธุ์วรรณาทางโบราณคดีมาประยุกต์ใช้
ผลการศึกษาบ่งชี้ว่ากลุ่มคนที่เข้ามาใช้พื้นที่ในสมัยไพลสโตซีนตอนปลายมีพฤติกรรมการทิ้ง 2 ประเภทคือการทิ้งขันปฐมภูมิ และการทิ้งขันทุติยภูมิซึ่งทำให้ทราบว่าแหล่งโบราณคดีนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยชั่วคราวมี การเข้ามาใช้ พื้นที่ซ้ำหลายครั้ง และแสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนก่อนประวัตศาสตร์ อาจมีแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องความสะดวกสบายของการใช้พื้นที่แล้ว
แบบแผนการกระจายตัวของหลักฐานทางโบราณคดีประเภทกระดูกสัตว์ และเปลือกหอยในแต่ละพื้นที่ขุดค้นยังบ่งชี้ว่ากลุ่มคนเหล่านี้น่าจะมีการจัดการพื้นที่สำหรับกิจกรรมการอยู่อาศัยโดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 พื้นที่หลักคือ พื้นที่ครัวเรือน พื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่กิจกรรมพิเศษ การจัดการพื้นที่นี้ปรากฏตลอดช่วงระยะเวลาของการเข้ามาใช้พื้นที่ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มคนดังกล่าวไม่มีการให้ความหมาย หรือคุณค่าแก่สัตว์ชนิดใดเป็นพิเศษอีกด้วย The main objectives of this study are to analyze the distribution patterns of the Late Pleistocene faunal remains and to interpret the way prehistoric people utilized domestic space, and their discard patterns in the domestic activity areas at Tham Lod rockshelter.
Results of analysis show that the Late Pleistocene hunter-gatherer who occupied at the rockshelter had 2 types of refuse disposal patterns: primary refuse disposal and secondary refuse disposal. These 2 types of refuse disposal patterns indicated that the site was used a several time as a temporary camp site and also shows that prehistoric people had a way of thinking about comfort judging from space utilization.
The distribution patterns of faunal remains also indicated that the Late Pleistocene hunter-gatherer managed their domestic space and divided it into 3 areas including household area, communal area, and special activity area. This domestic space management appeared through time of their occupations. Moreover, there was no special meaning and value given to such animal species.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
สถานที่:
แม่ฮ่องสอน
ถ้ำลอด (แม่ฮ่องสอน)
ถ้ำลอด (แม่ฮ่องสอน)
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
175
Metadata
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็มRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมบ้านเชียงจากแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน จังหวัดสกลนคร
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Prehistorical Archaeology / วิทยานิพนธ์ – โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประเภทผลงาน: Thesisกรกฎ บุญลพ; Korakot Boonlop (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2003)This research focus on the analysis of prehistoric human skeletal remains excavated from Ban Khok Khon, Sakhon Nakhon Province, NE Thailand. This archaeological site can be labeled as one among the Ban Chiang Cultural ... -
วิเคราะห์เปลือกหอย กระดูกปลา และปู จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีโคกพลับ ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี
คอลเลคชัน: Theses (Bachelor's degree) - Archaeology / สารนิพนธ์ – โบราณคดีประเภทผลงาน: Thesisจุตินาฏ บวรสาโชติ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2011) -
การศึกษาโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จากแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Prehistorical Archaeology / วิทยานิพนธ์ – โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประเภทผลงาน: Thesisทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล; Tanongsak Lerdpipatworakul (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009)การศึกษาโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จากแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรีในครั้งนี้ ใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยตาเปล่าจากตัวอย่างโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 51 โครง และนำข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับข้อมูลของมนุษย์ยุค ...