การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบเครื่องมือที่ทำด้วยสำริดและเหล็กยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายที่พบในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม

Other Title:
The complarative study of late prehistoric bronze and iron implements found in Thaland and Vietnam
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรูปทรง และรูปแบบของเครื่องมือสำริด และเหล็กยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายที่พบในประเทศไทยและประเทศเวียดนามพร้อมทั้งเสนอคำอธิบายสาเหตุที่ทำให้เกิดความคล้ายคลึงหรือความแตกต่าง
ผลของการศึกษาพบว่าเครื่องมือสำริดและเหล็กที่พบที่พบในทั้งสองประเทศมีทั้งหมด 43 รูปร่างย่อย และจำแนกใหม่ตามลักษณะพื้นที่ใช้งานของเครื่องมือได้เป็น 4 กลุ่ม คือ1.เครื่องมือที่มีคมใช้งานกว้าง 2.เครื่องมือที่มีปลายแหลม 3.เครื่องมือที่มีปลายแหลม และคมใช้งานยาว 4.กลุ่มของเครื่องมือที่ไม่มีปลายแหลม หรือคมใช้งานยาว
การเปรียบเทียบพบว่าในประเทศเวียดนามมีเครื่องมือสำริดสมัยสำริดและเครื่องมือสำริดสมัยเหล็กหลากหลายรูปทรงย่อยมากกว่าของประเทศไทย ในขณะที่เครื่องมือของประเทศไทยมีประเภท และแบบย่อยมากกว่าของประเทศเวียดนาม และยังพบอีกว่าเครื่องมือบางแบบย่อยเป็นแบบเฉพาะของแต่ละพื้นที่ หรือพบเฉพาะในประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ในขณะที่บางงแบบย่อยมีความคล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ความคล้ายคลึงหรือแตกต่างอาจเกิดจากการติดต่อ หรือสร้างสรรค์เฉพาะกลุ่ม The main objectives of this dissertation are to compare shapes and forms of late prehistoric bronze and iron implements found in Thailand and Vietnam and provide possible explanations of the observed differences or similarities.
Analysis result shows that bronze and iron implements can be categorized into 43 shapes. In addition, implements can be also divided into 4 groups by their work area which are 1.broad cutting edge tools 2.pointed tools 3.pointed tools with long cutting edge and 4.tool without broad cutting edge or point.
This comparative study of implement also found that bronze implements of Vietnamese Bronze and Iron Ages comprise more varieties in shape, form and decorative style than those found in Thailand. In the other hand, iron implements of Thai Iron Age include more forms and shapes than those found in Vietnam.
The study reveals that some shapes or forms were belonged to specific area or culture. Also, some shapes or forms could be found both in Thailand and Vietnam. These similarities and differences could possibly be a result of cultural contact, exchange or local creativity of each area or culture.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต
Discipline:
โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
Temporal Coverage:
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
38