การใช้หลักการของลีนคอนสตรั๊กชั่นในการควบคุมการก่อสร้างโครงการบ้านกู้ภัย

Other Title:
Using lean construction principles to control the rescue house construction
Date:
2007
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวางแผนการดำเนินการก่อสร้างบ้านกู้ภัยเพื่อให้การก่อสร้างดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงการบ้านกู้ภัยอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้อนาคต จึงได้นำเสนอแนวทางในการจัดการก่อสร้างบ้านในโครงการบ้านกู้ภัยให้ได้มาตรฐาน และคุณภาพใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการใช้หลักการของ ลีนคอนสตรั๊ก ( Lean Construction ) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการก่อสร้างบ้านในโครงการบ้านกู้ภัย หลักการที่สำคัญคือการวางแผนเพื่อป้องกันข้อผิดพลาด ลดการสูญเสียในกระบวนการก่อสร้าง โดยจะดำเนินการวางแผนการปฏิบัติการก่อสร้าง ศึกษาใช้วัสดุหลักแต่ละชนิดโดยละเอียด ศึกษาขั้นตอนการก่อสร้าง และการใช้เทคนิคในการแสดงประกอบให้ง่ายต่อการเข้าใจ เพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับทางโครงการ โดยจะจัดทำเป็นคู่มือประกอบสำหรับการดำเนินการการก่อสร้างบ้านในโครงการบ้านกู้ภัย เพื่อทำให้การก่อสร้างมีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานชัดเจนในการประกอบติดตั้ง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาในการติดตั้งจริง ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่กำหนด และควบคุมระยะเวลาและแรงงานในการก่อสร้างได้ซึ่งจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของโครงการ
ผลการศึกษาพบว่า
1 เมื่อมีการวางแผนในการดำเนินการก่อสร้าง จะช่วยลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างและจากการวางแผนการก่อสร้าง โดยการจัดทำคู่มือผลิตชิ้นส่วนประกอบ และคู่มือประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนประกอบการก่อสร้างและการศึกษาคาดว่าการใช้คู่มือ และการวางขั้นตอนการทำงาน จะช่วยลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนและจะสามารถลดระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้างลงได้ ประมาณ5วัน
2 ซึ่งจากศึกษา พบว่าในวัสดุบางชนิดมีการใช้วัสดุเพิ่มเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากความต้องการด้านความแข็งแรงของวัสดุนั้น แต่อย่างไรก็ตามจากการวางแผนการใช้วัสดุ จะสามารถลดปริมาณการใช้วัสดุหลักซึ่งส่งผลให้ค่าก่อสร้างทั้งหมดของโครงการลดลง 5860 บาท ต่อหลัง หรือ เป็น 281,280 บาทของทั้งโครงการ
3 จากการศึกษาด้านแรงงานในการก่อสร้างเมื่อกำหนดลักษณะการใช้แรงงานในแต่ละขั้นตอนในการดำเนินการก่อสร้างแล้ว เมื่อกำหนดวันในการก่อสร้างเป็นเวลา 24 วันแล้ว จะสามารถสรุปจำนวนแรงงานในการก่อสร้างบ้านกู้ภัยในโครงการตัวอย่างทั้งหมด 48 หลัง ได้ดังนี้ แรงงานทีทีทักษะ จำนวน 98 คน และแรงงานทั่วไป 360 คน โดยการการก่อสร้างจริงนั้นถ้าแรงงานมีอยู่อย่างจำกัด ก็จะทำให้ระยะเวลาในการก่อสร้างเลื่อนออกไป ขึ้นอยู่ลักษณะของพื้นที่ประสบภัยนั้นๆ
สรุปผลการศึกษา การใช้หลักการ ลีนสตรั๊กชั่น ( Lean Construction ) มาใช้ในการควบคุมการก่อสร้างบ้านในโครงการบ้านกู้ภัย โดยการวางแผนการวางแผนการปฏิบัติงานก่อสร้าง ศึกษาด้านระยะเวลา ด้านการใช้วัสดุ และแรงงานอย่างละเอียดทำให้สามารถกำหนดระยะเวลาในการก่อสร้างที่สัมพันธ์กับจำนวนแรงงานในการก่อสร้างได้ ซึ่งสามมารถใช้ควบคุมและกำหนดระยะเวลาและแรงงานได้กับโครงการในอนาคต นอกจากนั้นในการศึกษาการใช้วัสดุประกอบการก่อสร้าง เพื่อที่จะกำหนดแนวทางในการใช้วัสดุที่เป็นวัสดุที่ได้มาจากการบริจาคให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเหลือเศษน้อยที่สุด จนสามารถกำหนดปริมาณวัสดุที่แน่นอนได้ซึ่งเมื่อสามารถลดการใช้วัสดุหลักลง ก็ส่งผลโดยตรงกับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ซึ่งสามารถตอบสนองหลักการของทางโครงการเพื่อผู้ประสบภัยได้อย่างสมบรูณ์ The objectives of this study are to implement the rescue house construction effectively and to apply the concept to other rescue house constructions in the future. The study presents how to manage the rescue house construction to be standardized and equipped with quality, with optimal available resources by using lean construction principles. The lean construction principles are used for controlling the rescue house construction to be conducted effectively by 1. detailed planning on the use of main materials, 2. studying the construction steps, and 3. using illustrating techniques in assembly to lessen the project potential problems that might
occur The retrieved findings could be compiled as a manual for implementing rescue hose construction in order to have effective construction, apparent standard
for installation reduce problems in actual installation construction prevent unnecessary steps, and employ the set tools and equipment within the estimated timeframe.
The study finding are
1. Planning of construction implementation helps reducing potential problems during the construction. And the study estimated that having manuals (installation manual and instruction manual) and planning would eliminate the redundant process and shorten the construction time for five days.
2. The study found that there was a need to increase quantity of some materials because of their durability. However, the implementation planning can reduce the man material usage that effect to the rescue house construction cost by 5,860 Bath/house or reduce the total project cost to 2581,289 Bath
3. From the study of construction labor when fixing the types and the steps of labors used. And calculation from the study of construction time which is 24 Days. It could be general laborers were needed. In the actual construction, If in that site have limited labor work the timeframe for construction period will postpone due to specific site.
Conclusion of the study: using lean construction principle in Controlling rescue house construction project by having construction implementation plans and studying timeline and labor use thoroughly can result in determining the proportionate time with the labor force used in construction. Moreover, the study of construction materials was conducted to utilize the donate materials optimally, with the least residuals so that the project can determine the construction cost because when the construction materials used is reduced, it would respond to the principles of rescue house project perfectly.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการโครงการก่อสร้าง
Collections:
Total Download:
335