บ้านเรือนชาวเขากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ : ความยั่งยืนและการปรับตัวภายใต้นิเวศวัฒนธรรมไร่หมุนเวียน

Other Title:
Houses of Paka-Kyaw Karen : sustainabity and adaptability on cultural ecology in rotation farming
Subject:
Date:
2007
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ในวัฒนธรรมการปลูกสร่างบ้านเรือนของชาวเขากระเหรี่ยง ปกากะญอ ที่สัมพันธ์กับนิเวศวิทยาวัฒนธรรมไร่หมุนเวียน เป็นการเกษตรบนที่สูงในรูปแบบ เพาะปลูกระยะสั้น พักฟื้นระยะยาว เมื่อพิจารณาระบบไร่หมุนเวียนผ่านมุมมองภูมินิเวศวัฒนธรรม จะทำให้เข้าใจได้ว่า ระบบไร่หมุนเวียน นั้นเป็นระบบการเกษตรเชิงวัฒนธรรม ที่มีการเชื่อมโยงและเกื้อกูลกับระบบนิเวศป่า ระบบไร่หมุนเวียนเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้โดย “ความรู้ชาวบ้าน”ที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งสั่งสมมานาน ขณะเดียวกันนั้นวิถีชีวิตในวัฒนธรรมไร่หมุนเวียนได้สะท้อนให้เห็นในภูมิปัญญาการปลูกสร้างบ้านเรือนที่ใช้วัสดุธรรมชาติในพื้นที่หมู่บ้านทั้งหมด จากพืชพันธ์ในระบบนิเวศแวดล้อมของตนเอง ชาวบ้าน ปกากะญอ สามารถใช้ภูมปัญญานำพืชพันธ์เหล่านั้นมาเป็นวัสดุในการปลูกสร้างบ้านเรือนที่มีรูปแบบเฉพาะที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมความเชื่อในระบบจักรวาล วิทยาของตน และเหมาะสมกับภูมิศาสตร์ที่ตั้งบนที่สูง เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษมาช้านาน
วัตถุประสงค์ในการศึกษาได้ตั้งคำถามในการศึกษา ไว้สอง ข้อ คำถามข้อแรก ภูมิปัญญาในการปลูกสร้างบ้านเรือนของชาวเขากระเหรี่ยง ปกากะญอ เป็นอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศในบริบทที่ตั้งอย่างไร และคำถามข้อที่สอง บ้านเรือนพื้นถิ่น ปกากะญอ มีแนวคิดที่สอดคล้องกับการพยายามดูแลทรัพยากร และรักษาป่าเช่นเดียวกับการทำไร่หมุนเวียนหรือไม่
วิธีการวิจัยศึกษาข้อมูลเอกสารและสำรวจภาคสนามในพื้นที่การศึกษา 3 หมู่บ้าน กำหนดพื้นที่ศึกษาจากการศึกษาต่อเนื่องจากงานวิจัย ไร่หมุนเวียน สถานภาพและการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงในด้านเกษตรในนิเวศวัฒนธรรมไร่หมุนเวียน การสำรวจได้เลือกบ้านเรือนกรณีศึกษาทั้งหมด 8 หลังคาเรือนในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน สำรวจภาคสนมเก็บข้อมูลรังวัด ถ่ายภาพวาดบันทึกในด้านสถาปัตยกรรม และสัมภาษณ์ในเชิงสังคมศาสตร์ มารวมกันในการวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อตอบคำถามในการศึกษา
จากการศึกษาพบว่าบ้านเรือนในรูปแบบดั้งเดิมมีความยั่งยืนต่อระบบนิเวศ เป็นภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับบริษัทที่ตั้ง ทั้งด้านภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ด้วยการถ่ายทอดผ่านวิธีทางวัฒนธรรม มีความเชื่อมโยงและเกื้อกูล กับป่าและมีลักษณะร่วมที่คล้ายเหมือนกับไร่หมุนเวียน นอกจากนี้ยังพบลักษณะการปรับตัวของชาวบ้านต่อที่พักอาศัย ในรูปแบบบ้านเรือนแบบผสมผสานและแบบใหม่ ที่มีรูปแบบถาวร แต่มีแนวโน้มในการเกื้อกูลกับป่าน้อยลง The research focus on Thai vernacular architecture of Karen houses. The cultural aspects involves in building a house for Paka-kayaw Karen in relation with short cultivation-long fallow rotation farming It could be understood that the rotation farming is a cultural agriculture when it is being considered through cultural ecology aspect the rotation farming has long been invented and operated by the sophisticated folk wisdom of Karen through many generations the method of building Karen house also reflects the folk wisdom which is being influenced by the culture of rotation farming the house is built by the local natural materials that can be found within the ecological environment paka-kayaw villagers applied the natural trees and plants around their area to use as the building material for their houses therefore the house represents the uniqueness of the architectural culture of the village the architecture also response to the cosmological theory and belief of Karen culture It is suitable for high-land geological characteristic of the place this cultural knowledge has been passing on among the Paka-kayaw villagers for generations.
The aim of the research is to set two main hypothesis approaches first what is the indigenous knowledge of Karen culture that reflects on vernacular architecture? How is it related to ecological context of the area? Second, does the design of the Paka-kayaw vernacular house concern about the natural resource preservation the way the rotation framing does or not?
The methodology in conducting the research for documentation and field work covers 3 villages. The scope of the research area is determined from the reference research “Rotation farming” the condition and changes” The research is the reference for the cultural ecology in Rotation Farming From the study, 8 house are selected from 3 villages the filed work involved site and house measured drawings architectural photography and sketches the interview is being conducted through the sociology aspect the data is being analyzed and compared to the original hypothesis outline.
The study found that the house in the original style of Karen houses sustain the ecological system of the area the building knowledge is harmoniously related to contextual characteristic of the site in term of weather and typographical aspects the knowledge is passing on through culture method the Karen vernacular architecture shares the similarities with the method of Rotation farming in sustaining forest ecological environment furthermore structurally more permanent however less related to the natural forest ecological context.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
Collections:
Total Download:
1071