การกำหนดอายุแหล่งศิลปกรรมบนผนังหินสมัยโบราณในภาคใต้ของประเทศไทย

Other Title:
The dating of ancient rock arts in Southern Thailand
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 นักโบราณคดี กรมศิลปากร คณาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้สำรวจพบ แหล่งศิลปกรรมบนผนังหินสมัยโบราณไม่น้อยกว่า 22 แหล่ง ถึงแม้ว่าจะมีการกำหนดอายุเชิงเปรียบเทียบด้วยแนวต่าง ๆ บ้างในบางแหล่ง แต่ทุกแหล่งยังไม่มีการกำหนดอายุแบบสัมบูรณ์ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์จากเนื้อสีที่ใช้เขียนภาพเขียนสีโดยตรง
เพื่อประมวลข้อมูลเบื้องต้นและแนวคิดในการกำหนดอายุจากการศึกษาที่ผ่านมา ทบทวนถึงปัญหาและความสับสนเกี่ยวกับการกำหนดอายุที่เกิดขึ้นกับแหล่งศิลปกรรมบนผนังหินบางแหล่ง และเรียบเรียงข้อมูลศิลปกรรมบนผนังหินสมัยโบราณในภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อให้การกำหนดอายุและเรื่องราวของศิลปกรรมบนผนังหินสมัยโบราณในภาคใต้ของประเทศไทยแต่ละแหล่งชัดเจนยิ่งขึ้น โดยใช้แนวคิดในการวิเคราะห์กระบวนการเกิดของแหล่งโบราณคดีโดยธรรมชาติและมนุษย์ การกำหนดอายุสัมบูรณ์ และการกำหนดอายุเปรียบเทียบ
ผลการศึกษาในครั้งนี้ มีการกำหนดอายุและลำดับอายุสมัยของศิลปกรรมบนผนังหินสมัยโบราณ มีรายละเอียดดังนี้
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุไม่เก่าไปกว่า 5,000 ถึง 2,000 ปีมาแล้ว
2. สมัยประวัติศาสตร์สมัยศรีวิชัย อายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 12 ถึง 15
3. สมัยประวัติศาสตร์สมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 15
4. สมัยประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24
5. สมัยประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2367 – ปัจจุบัน) Since 1922 archaeologists of the Fine Arts Department of Thailand and archaeological academics have discovered ancient rock art in Southern Thailand at a total of 22 sites. Numerous rock art sites have been found throughout the four regions of Thailand, especially in Northeastern but also in Northern, Southern and Central Thailand.
Previous studies on ancient rock art arrived at results from comparative study and data only. Unfortunately, they did not use absolute dating techniques from color pigments. This study purposes to criticize previous dates, given clear dates, chronology and the story of ancient rock arts in Southern Thailand. The methodology of this study uses evidence from site-formation process analysis, absolute dating – indirect dating and ancient literature of inscription analysis and relative dating – rock art forms comparative, associated finds, art historical approaches and chronology.
The results of this study can be divided into;
1. Prehistoric rock arts, dating approximately to 5,000 to 2,000 years before present or about Late Neolithic to Bronze Ages and Iron Ages at Tham Phee Hua To (Phee Hua To Cave). Leam Chao Lay (Chao Lay Headland). Tham Chao Lay (Chao Lay Cave), Leam Tai Raed (Tai Raed Headland). Leam Fi Mai (Fi Mai Headland). Khao Khian (Khian Mountain). Khao Raya (Raya Mountain). Tham Naga (Naga Cave). Khao Phra Aad Thao (Phra Aad Thao Mountain), Khao Jaow Mai (Jaow Mai Mountain). Khao Na Prao (Na Prao Mountain). Khao Yala (Yala Mountain) and Tham Silpa (Silpa Cave).
2. Srivijaya rock arts in Hindu and Buddhist monuments dating to the 7th to 10th centuries A.D. at Khao Khu-Ha (Khu-Ha Mountain) and Tham Silpa (Silpa Cave).
3. Dvaravati rock arts in Buddhist monument dating to 10th century A.D. at Tham Khu-Ha (Khu-Ha Cave).
4. Ayutthaya rock arts in Buddhist monuments from the 15th to early 19th centuries at Khao Rub-Ro (Rub Ro Mountain), Tham Phra (Phra Cave), Them Singhara (Singhara Cave), Tham Khao Sam Baht (Sam Baht Mountain Cave) and Tham Viking (Viking Cave).
5. Rattanakosin rock arts during the reign of King Rama III until the period of King Rama IX at Tham Sum (Sum Cave). Tham Suwan Khu-Ha (Suwan Khu-Ha Cave) and Khao Yala (Yala Mountain).
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต
Discipline:
โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
Spatial Coverage:
ไทย (ภาคใต้)
Temporal Coverage:
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
53