การศึกษาเพื่อเสนอแนะทางเลือกและรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ขึ้นมาใหม่ในบริเวณที่ตั้งเรือนจำกลางบางขวาง ชุมชนเมืองนนทบุรีเดิม

Other Title:
A study for proposing alternative urban redevelopment schemes for the former Bang Khwang jail site in Nontaburi urban area
Author:
Date:
2011
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ราชพัสดุ และการบริหารจัดการที่ราชพัสดุทางด้านลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อประเมินผลหาความเหมาะสมของกิจกรรมตลอดจนเสนอแนะรูปแบบของโครงการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นใหม่ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ราชพัสดุบริเวณที่ตั้งเรือนจำกลางบางขวางชุมชนเมืองนนทบุรีเดิม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสัมภาษณ์มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 9 รายและวิเคราะห์ผลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ที่ราชพัสดุมีการจัดการดูแลและถือกรรมสิทธิ์โดยกรมธนารักษ์กระทรวงการคลัง แต่ไม่ควรกำหนดการใช้ประโยชน์ในทางราชการหรือเป็นสำนักงานราชการเป็นสำคัญ แต่ควรมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ตามลักษณะความเหมาะสมของกิจกรรมบริเวณนั้น ๆ และอาจมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินต่างจากพระราชบัญญัติผังเมืองรวมได้ตามนโยบายของการพัฒนาพื้นที่ราชพัสดุนั้น
โครงการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นใหม่ในเขตชุมชนเมืองที่เป็นที่ดินแปลงใหญ่และมีศักยภาพทางกายภาพสูงนั้น รูปแบบการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดที่เหมาะสม ควรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่หลากหลายหรือเป็นการใช้พื้นที่แบบผสม (Mixed-use) ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือด้านสังคมและบริการของรัฐมีสัดส่วนการใช้พื้นที่ร้อยละ 25 ด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวร้อยละ 50 และพื้นที่เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนันทนาการร้อยละ 25 ของพื้นที่ โครงการหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นจะเป็นลักษณะกิจกรรมบริการสาธารณะด้านสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ เป็นโครงการที่มีส่วนส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม และเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและชุมชนโดยรอบด้วย
บทสรุปและข้อเสนอแนะในการพัฒนาพื้นที่เฉพาะของเมือง ควรมีการร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชน และต้องมีการพัฒนาให้ครบทุกด้าน ทั้งรูปแบบกิจกรรมภายในพื้นที่ที่สอดคล้องกับบริบทโดยรอบ โครงข่ายการคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ ตลอดจนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย The purpose of this research was to investigate on the notion of State Property redevelopment, State Property management, in terms of physical, economy and social, and also evaluation of appropriate activities together with the recommended models of land use for the former Bang Khwang Jail Site in Nontaburi. The research methodology is using questionnaire to gather data from 9 people and analyzed it in the sense of qualitative research and descriptive research.
The results of the study were that even though the land belongs to the Treasury Department of Ministry of Finance, the major land use does not have to serve government services or to be government offices but it shall reflect suitable activities for this area and the land use can be changed from Town Planning Act according to the redevelopment policy.
The study showed that the land use of large and high potential plot shall be mixed use type which is comprised of 3 peris; 1) Social, Cultural and Infrastructure 2) Economic and Traveling 3) Environmental and Recreation Area, in appropriate proportion in order to control the suitability of land use and to maximize the land use. The project or activities shall be public utilities and public facilities which either directly or indirectly support local economy as well as benefit local people and community.
The principle conclusion was that a successful redevelopment project for a specific urban land shall be a collaboration work between government section and public section whilst the activities shall conform to local context, public transportation network, public utilities, public facilities and also social and environmental aspect.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
Collections:
Total Download:
277