การศึกษาความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพและการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน โครงการบ้านเอื้ออาทรชุมชนเมืองพิษณุโลก ของการเคหะแห่งชาติ

Other Title:
A study of resident's satisfaction on physical environment and infrastructure purvisions for the low-income group in the Nha's public housing projects, Phitsanulok city
Author:
Subject:
Date:
2011
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและแนวคิดการวางผังชุมชนย่อยและทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โครงการบ้านเอื้ออาทรชุมชนเมืองพิษณุโลก ของการเคหะแห่งชาติในด้านต่าง ๆ และการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นทั้งภายนอกและภายในชุมชนที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยของชุมชนที่น่าอยู่และยั่งยืน
การวิจัยนี้ได้เลือกพื้นที่วิจัยโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จตามเป้าหมายในปีพ. ศ. 2551 โดยเลือกโครงการบ้านเอื้ออาทรพลายชุมพล โครงการบ้านเอื้ออาหารสำหรับข้าราชการและลูกจ้างทหารอากาศ และโครงการบ้านเชื้ออาทรบึงพระ 2 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมทางกายภาพโดยวิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามที่เก็บรวบรวมมาได้จำนวน 100 ครัวเรือนจากพื้นที่วิจัยในระหว่างวันที่ 14-20 กุมภาพันธ์ 2554 สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้กำหนดระดับค่าคะแนนความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยไว้ 5 ระดับ คือพอใจมากเท่ากับ 5 คะแนนและไม่พอใจเท่ากับ 1 คะแนน
ผลการวิจัยพบว่าโครงการบ้านที่เอื้ออาทรทั้ง 3 พื้นที่วิจัย โดยรวมกล่าวได้ว่าผู้อยู่อาศัยมีความพึงพอใจและทัศนคติโดยเฉลี่ยตั้งแต่มากไปหาน้อย สรุประดับค่าคะแนนเฉลี่ยดังนี้ 1. สภาพแวดล้อมทั่วไปภายในชุมชน ด้านการวางผังกลุ่มอาคารมีความพึงพอใจปานกลาง (3.541) ด้านสภาพแวดล้อมภายในชุมชนมีความพึงพอใจปานกลาง (3.060) และด้านนันทนาการในศูนย์ชุมชนมีความพึงพอใจน้อย (2.882) 2. สาธารณูปโภคภายในชุมชนที่มีความพึงพอใจมาก (3.896) สาธารณูปการภายในชุมชนมีความพึงพอใจน้อย (1.971) 3. สาธารณูปโภคและสาธารณูปการภายในชุมชนต้องการเพิ่มเติมมีความต้องการมาก (4.048) โดยเรียงจากมากไปหาน้อยได้เผา 1.ที่พักคอยรถรับจ้าง (4.400) 2. ที่รวมขยะในชุมชน (4.370) 3. ตู้ ATM (4.120) 4. จันยานยนต์รับจ้าง (4.080) และ 5. โทรศัพท์สาธารณะ (3.270) ตามลำดับ และ 4. สาธารณูปโภคและสาธารณูปการภายนอกชุมชนในรัศมี 5 กิโลเมตร ให้ความสำคัญมาก (4.024) ให้แก่ตำแหน่งที่ตั้งโครงการระบบขนส่งสาธารณะ และเชื่อมต่อโครงข่ายถนน ข้อเสนอแนะสำหรับการวางผังชุมชน ได้แก่ การเลือกตำแหน่งที่ตั้งควรเชื่อมโยงกับศูนย์กลางของเมือง ส่งเสริมใช้พื้นที่อย่างผสมผสาน และสร้างความมีชีวิตชีวาสนับสนุนใช้การสัญจรโดยการเดินเท้า และจักรยานเป็นหลักให้เกิดความรู้สึกและทัศนคติที่ดีต่อชุมชนและมีความปลอดภัยในการอยู่อาศัย The Objective of this research was to study the principles and concepts of sub-community planning as well as the residents' perceptions of the physical environment in Public Housing Projects in Phisanulok Province of National Housing Authority, and providing the necessary infrastructure services both inside and outside community for their livable and sustainable.
The completed three Public Housing Projects in 2008 were selected to be the research areas consisting: 1) Public Housing Project in Plai Chumpol District, 2) Public Housing for government officials and employees in the Royal Thai Air Force, and 3) Public Housing Project in Beng Pra II District with the aims to study and compare physical environment. The researcher used questionnaire for collecting data from 100 households of the three research areas during 14-20 February 2011. Moreover, the residents' satisfaction was the research criteria for analyzing the levels of satisfaction of the five levels by defining level 5 was most satisfaction equaling to 5 points and 1 point was unsatisfactory.
The research finding has been found that mostly residents in the three research areas were satisfied with good attitudes and the average was from high to low. In addition, the analysis could be summarized from the average score of satisfaction as following: 1. General environment in community 2. Infrastructure in community and 3. Infrastructure and utility outside community
Regarding the general environment in community, the satisfactions of the layout of building (3.541) and its environment (3.060) were moderate whereas the satisfaction of recreation in their community was low (2.822). In terms of infrastructure, the satisfaction was high (3.896) while the satisfaction of utility was low (1.971). However, the demand of infrastructure and utility of the residents was high (4.048) by arranging from most to less which were: (1) Shelter for waiting vehicles (4.400), (2) Garbage collection within community (4.370), ATM machine (4.120), Motorcycle carrier (4.080), and (5) Public telephone (3.270) respectively. And for infrastructure and utility outside community within 5 kilometers, they gave more important on it and the satisfaction was 4.024, such as the project location, transportation, public transportation system, and the link of network road projects that was easy to transport.
The recommendations for community planning were to select the location for linking to the city center, and to integrate the use of space together with to create the cheerfulness in the area. Furthermore, community people should pay significant roles on the realization of community belonging by promoting bicycle or walking as a main transportation as well as to create positive attitudes towards their community and safety in their living.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
Collections:
Total Download:
458