แนวทางเพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางผังเมืองรวมเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Other Title:
Methods for development of public participation in urban planning process : a case study of Hua-Hin district, Prachuabkirikhan province
Author:
Subject:
Date:
2011
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวางผังเมืองนั้นถือเป็นการวางแผนและพัฒนาเมืองเพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่วางผังนั้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการจัดทำผังเมืองนั้นได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็น ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าประชาชนเข้าร่วมการประชุมน้อย ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้จึงทำการศึกษาและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการศึกษาได้ใช้แบบสอบถามทั้งสิ้น 397 ชุดกับกลุ่มประชากรตัวอย่างและทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองจำนวน 3 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงอ้างอิง เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่เคยและไม่เคยเข้าร่วมประชุมและความเห็นต่อการเหมาะสมของการประชุมรับฟังความคิดเห็นซึ่งมีค่า r=.342 จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์สนับสนุนการพิสูจน์สมมติฐาน
การศึกษาพบว่าประชาชนมีความคิดเห็นว่า การประชุมรับฟังความคิดเห็นนั้นมีความเหมาะสมน้อยด้วย ปัจจัยด้านเวลา สถานที่ การประชาสัมพันธ์ที่ไม่ทั่วถึงและปัญหาด้านเนื้อหาที่เข้าใจยาก นอกจากนี้ยังพบว่าประชาชนเห็นด้วยกับรูปแบบการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อยด้วยรูปแบบการประชุมที่มีขนาดเล็กลง บรรยากาศเป็นกันเองมากขึ้น เหมาะสมกับประเด็นอ่อนไหวและความขัดแย้ง อีกทั้งยังสามารถรับรู้ข้อมูลข้อคิดเห็นจากประชาชนอย่างทั่วถึง ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมในการวางผังเมือง สรุปได้ดังนี้ 1. นอกเหนือจากการรับฟังความคิดเห็นครั้งใหญ่ 1 ครั้งแล้วควรปรับปรุงให้มีการประชุมกลุ่มย่อยด้วยร่วมด้วย โดยจัดแยกตามแต่ละชุมชนเพื่อความสะดวกของประชาชน 2. การประชาสัมพันธ์และให้ความรู้อย่างทั่วถึงและควรมีการตรวจสอบการประชาสัมพันธ์ว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ นอกจากนี้การเปิดโอกาสให้ประชาชนรากหญ้าได้เข้ามามีส่วนร่วมได้แทนที่จะเป็นกลุ่มที่มีการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อประโยชน์ส่วนตนนั้นจะทำให้ ขั้นตอนการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้นได้พบปัญหาและข้อคิดเห็นที่แท้จริงจากประชาชนที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วม Urban Planning involves planning and country development for a designated planned area to improve quality of life for the public. Citizen can participate in a comprehensive planning process through 'public hearing' meetings. Up to the present, very few local people attend the meeting. As a result, public participation is a big flaw in Thailand's planning process. The propose of this research was to examine and to develop methods of public participation that improve the planning process. Questionnaires and interviews were the methodology of this research. A total of 397 questionnaires were distributed to people in Hun-Hin district, Prachuabkirikhan Province, and 3 experts in Urban Planning were interviewed. The data was statistically analyzed for correlation coefficient between people who attended or not attended a meeting and their opinion on suitability of such meeting. The correlation analysis showed r=.342 which means there is positive a relationship between the two variables.
The findings include, firstly, people in Hua Hin thought that 'public hearing' meetings were inconvenient in timing, venues. Secondly, there were also problems in insufficient public relations that caused people to feel that urban planning process was difficult to understand. People preferred a form of focus group discussion such as a small group meeting in a more friendly atmosphere to a big 'public hearing' meetings. Such small meeting allows people to feel comfortable to voice out their opinions to others. The recommendations to improve public participation in urban planning process include: 1. In addition to a large public hearing meeting, there should be a set of focus group meetings in each area. 2. Promote and inform public to make sure that the public understand their roles and the planning's procedure, Grassroots population would benefit from participating in small group meetings where they would feel comfortable to share their opinions openly.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
Collections:
Total Download:
139