แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

Other Title:
Guidelines for administration and management of Phra Nakhon Sri Ayutthaya Historical Park
Author:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่มรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวารเนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว เช่น การรุกล้ำพื้นที่โบราณสถาน การขาดการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น นั้นมีสาเหตุมาจากการบริหารจัดการที่ยังไม่เหมาะสมกับพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในระดับโลกแห่งนี้
วิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรใช้วิธีการสัมภาษณ์นักวิชาการทางด้านผังเมืองและการอนุรักษ์โบราณสถาน จำนวน 7 ท่าน โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการรวบรวมข้อมูล ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 2 ครั้ง ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการประกาศใช้ผังแม่บทเป็นกฎหมาย ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถทำให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้ และสรุปเป็นความคิดเห็นรวมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ 1. การจัดทำผังแม่บทควรจะให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการะบวนการจัดทำ 2. ผังแม่บทควรจะกำหนดบทบาทและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน 3. ควรประกาศใช้ผังเมืองเฉพาะเป็นแนวทางการทำงานหลัก เพื่อจะได้กำหนดรายละเอียดของแผนงาน โครงการ ข้อกำหนดหรือข้อบังคับต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมและละเอียดมากยิ่งขึ้น 4. ควรให้ความรู้ในด้านการอนุรักษ์กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น และควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อรับรู้ปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดกับชุมชน ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกับประชาชน ซึ่งจะทำให้ผลการดำเนินงานประสบผลตามเป้าหมายที่วางไว้
ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาคือจะต้องมีการจัดทำผังแม่บทและประกาศใช้เป็นกฎหมาย และจะต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนงานและโครงการที่กำหนดไว้ในผังแม่บทไปเป็นแผนงานและโครงการของหน่วยงานด้วย เพื่อให้การทำงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และควรจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งประชาชนในพื้นที่ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกันทั้งภาครัฐและประชาชน อันจะเป็นแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสม บรรลุผลตามเป้าหมายในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่อันเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งนี้ Ayutthaya World Heritage Park has recently created controversies over the conflicts and problems among various parties involved resulting a risk to lose its World Heritage Site status. The Park, which is a part of the designated World Heritage Site officially titled Historic Town of Ayutthaya and Associated Historic Towns, is one of the most significant cultural heritage areas of Thailand. Its serious issues include encroachment by unauthorized merchants, lacks of coordination among involving government units. A major cause of the problems was hypothesized to be a poor management of the historic park by the local authorities. Therefore, the purpose of this research was to study policies for managing Ayutthaya World Heritage Park to provide guidelines for effective conservation of fragile artifacts and environments.
Delphi technique was used to analysis the relationship between effective historic site conservation management and various management variables. Interviews of seven experts in urban planning and historic site conservation were performed in two rounds to gain consensus among the experts. The result showed that the majority of the experts agreed upon having a legislative control using a Master Plan as a tool to manage the site. To obtain a Master Plan, the experts recommended to:
1.Get local authorities and stake holders to participate in the process of master-planning
2. Clearly identify roles and responsibilities of local authorities and related entities in managing the historic sites in the Park,
3. Use Specific Plan Act as the main guideline that gives appropriate detailed implementation plans, project plans, legal controls and guidelines.
4. Provide and promote more education on historical conservation to general population and authorities. This is to increase the level of public participation in planning for conservation of the historic sites - from understanding the problems to finding solutions to reduce the negative impacts to the community.
The recommendations aim to improve coordination between general public and authorities which will produce a desirable outcomes and, as a result, fulfill the objectives.
The author recommends a few guidelines for managing Ayutthaya World Heritage Park which include: the authorities and community participate in creating a Master Plan and legalize the Master Plan as a control tool for future management of the Park; authorities involved in the management of the Park propose projects with details to implement the Master Plan, promotion of public-private partnership will support proper management that leads to achieving the conservation objectives and resulting a high quality World Heritage Site.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
Collections:
Total Download:
214