การศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพการเดินทางเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้าในย่านชานเมืองบริเวณสถานีอ่อนนุช กรุงเทพมหานคร

ชื่อเรื่องอื่น:
A study for accessibility improvement for Bangkok transit system (BTS)'s suburban station : case study On Nut station
ผู้แต่ง:
วันที่:
2010
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาแนวการเพิ่มศักยภาพทางด้านการเดินทางเข้าสู่ สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสในย่านชานเมือง บริเวณสถานีอ่อนนุช โดยศึกษาจากพฤติกรรมและลักษณะการเดินทาง การใช้ยานพาหนะหรือการเลือกรูปแบบในการเดินทาง ตลอดจนการเลือกใช้เส้นทางของประชาชน เป็นการหาองค์ประกอบทางด้านกายภาพที่สําคัญต่อการเพิ่ม ศักยภาพการเดินทางเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้า โดยสมมติฐานของงานวิจัย คือ องค์ประกอบทางด้านกายภาพของทางเดินเท้า และองค์ประกอบที่กําหนดเส้นทางเข้าสู่สถานีที่ชัดเจน เช่น ป้ายบอกทิศทาง ช่วยเพิ่มความสะดวกในการมาใช้บริการ และการเพิ่มพื้นที่ PARK & RIDE ให้มากขึ้น จะสามารถเพิ่มศักยภาพการเดินทางเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ในย่านชานเมืองบริเวณสถานีอ่อนนุชได้มากขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสํารวจ และแบบสอบถาม ที่จะใช้ในการสํารวจกับกลุ่ม เป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้โดยสารที่มาใช้ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สถานีอ่อนนุช และกลุ่มผู้ที่อยู่อาศัยหรือทํากิจกรรมโดยรอบสถานีภายในระยะ 500 เมตร โดยจะสอบถามเกี่ยวกับ (1) พฤติกรรมการเดินทางมาหรือออกจากสถานีรถไฟฟ้าของผู้มาใช้บริการ (2) การพัฒนาเส้นทางมาสู่สถานีและการการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับสถานี (3) ความต้องการของผู้มาใช้บริการต่อการเพิ่มพื้นที่ PARK & RIDE
จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากจากการสํารวจภาคสนาม แบบสอบถามสําหรับผู้โดยสาร และสําหรับ ประชาชนที่อยู่โดยรอบสถานี ทําให้เห็นแนวทางพัฒนาที่เหมาะสมต่อการเพิ่มและพัฒนาศักยภาพการเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้า โดยนําข้อมูลในรูปแบบตัวเลขทางสถิติมาวิเคราะห์รวมกับข้อมูลจากการสํารวจ ทําให้เห็นได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกเฉย ๆ หรือรู้สึกปานกลาง ในเรื่องการพัฒนาด้านต่าง ๆ หรือสร้างเส้นทางเข้าถึงที่ชัดเจน แต่ในความคิดเห็นของผู้วิจัยแล้วนั้น เส้นทางการเข้าสู่สถานียังมีปัญหาอยู่มากที่จําเป็นต้องปรับปรุงในบางส่วน เพื่อการใช้งานที่สะดวกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ในส่วนของการเพิ่มพื้นที่ PARK & RIDE นั้นประชาชนทั้ง 2 กลุ่ม มี ความสนใจที่แตกต่างกันจึงเลือกที่จะนําเฉพาะกลุ่มความคิดเห็นของผู้โดยสารที่มาใช้บริการมาเป็นตัวกําหนด โดยนําตัวเลขทางสถิติมาวิเคราะห์ในเรื่องความสนใจ ซึ่งทําให้เห็นถึงความจําเป็นต่อการเพิ่มพื้นที่ PARK & RIDE ต่อไป The purpose of this research was to develop guidelines for improvement of secondary transportation network accessing the BTS's suburban Station-On Nut Station. The study involved surveys of the existing routes to the station and questionnaires to transit users to measure their satisfaction of the existing system and their commuting behavior, time, frequency, modes and routes, and needs for improvement of the accessing routes.
The hypotheses were that 1) improved pedestrian sidewalks on specific routes are the key component to increase accessibility to the station, 2) proper park-and-ride facility is needed to service commuters who travel to the station from farther suburban areas.
There were two groups of the questionnaire samples - transit users surveyed at the station, and those who live within 500-meter radius from the station. Three groups of questions were asked: 1) travel behavior; 2) route and mode used to access the station; 3) opinion on the need of a park-and-ride facility which is owned by the BTS.
The data from field survey and questionnaires to BTS riders and sample group who live within 500-meter radius from the station were analyzed statistically and comparatively. The findings show that the two sample groups were moderately satisfied with the routes, modes, and most of the conditions of the routes.
However, the field survey identified several elements that need to be improved due to safety standards and to add clear signs to direct users to access the station easily. The two sample groups showed different interests on Park-and-Ride facility. The recommendations were derived from the synthesis of the sets of data. Park-and-Ride facility focuses on the need of commuters, and the improvements of the secondary routes focus on the needs of both groups by adding bicycle paths and sidewalks on specific streets.
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
314